วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวัน วันที่ 21 มี.ค. 59

บันทึกประจำวัน วันที่ 21 มี.ค. 59

      วันนี้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง โดยได้ปฎิบัติงานดังนี้
      - จัดแฟ้มเอกสารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มาตรฐานที่ 4.1 และทำคู่มือการดำเนินงาน
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กศน.อำเภอเมืองลำปาง ตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

แผนปฎิบัติงานประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 21 - 27 มี.ค.59

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 21- 27 มี.ค.59

วันที่ 21 มี.ค.59
    เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดแฟ้มเอกสารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 

วันที่ 22 มี.ค.59
     - เข้าปฎิบัติงานในพื้นที่ ทำกิจกรรมชุมชนรักการอ่าน (หนังสือนิทานทำมือ) บ้านทุ่งโค้ง หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
          
วันที่ 23 มี.ค.59
     - เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง จัดแฟ้มเอกสารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 
     
วันที่ 24 มี.ค.59
     อบรมเชิงปฎิบัติการโครงการสารสนเทศครบวงจร ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง
     
วันที่ 25 มี.ค.59
     -  เข้าพื้นทีประสานงานกลุ่มเป้าหมายกิจกรรมการเพาะเห็ดฟางด้วยกระบวนการบัญชีครัวเรือน ณ บ้านปงท่าขัว หมู่ที่ 10 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
    
วันที่ 26 มี.ค.59
    - ทำกิจกรรมจัดตั้งศูนย์อาเซียน ทำบอร์ดข้อมูล เกี่ยวกับอาเซียน

วันที่ 27 มี.ค.59
    - ทำกิจกรรมจัดตั้งศูนย์อาเซียน ทำบอร์ดข้อมูล เกี่ยวกับอาเซียน

บันทึกประจำวัน วันที่ 20 มี.ค.59

บันทึกประจำวัน วันที่ 20 มี.ค.59

           วันนี้ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (เล่าเรื่องจากภาพ) ให้กับกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน จำนวน 20 คน ลักษณะการจัดกิจกรรมเป็นการให้เด็กและเยาวชน แต่งเรื่องเล่าที่ตนเองสนใจ ถ่ายทอดออกมาโดยการวาดภาพ จากนั้น นำภาพวาดมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง ซึ่งจะดำเนินการในวันที่ 20 มีนาคม 2559  ณ ศาลาวัดท่าล้อ หมู่ที่ 9 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง








บันทึกประจำวัน วันที่ 19 มี.ค.59

บันทึกประจำวัน วันที่ 19 มี.ค.59

            วันนี้ได้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรสอนการทำเทียนเจล โครงการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว 






วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวัน วันที่ 18 มี.ค.59

บันทึกประจำวัน วันที่ 18 มี.ค.59

วันนี้ได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง โดยได้ปฎิบัติงานดังนี้
     - เสนองานขึ้นระบบบริหารงาน กศน. กิจกรรมการเพาะเห็ดฟางด้วยกระบวนการบัญชีครัวเรือน ซึ่งจะดำเนินการในวันที่ 29 มีนาคม 59 พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการจัดกิจกรรม ขออนุมัติหลักการจัดซื้อและจัดจ้าง แนบหนังสือเชิญวิทยากรไปพร้อมเรียบร้อย
    - ทำเบิกเงินค่าตอบครูกศน.ตำบล และเบิกเงินประกันสังคมครูกศน.ตำบล 12 ราย
    - เขียนบล็อกรายงานผลการปฎิบัติงานประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

การอบรมเชิงปฎิบัติการโครงการสารสนเทศครบวงจร (การรายงาน) วันที่ 17 มี.ค. 59

การอบรมเชิงปฎิบัติการโครงการสารสนเทศครบวงจร (การรายงาน) วันที่ 17 มี.ค. 59
โดย คุณกฤษณะ  เจริญอรุณวัฒนา
ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอเมืองลำปาง


       เวลา 8.00 - 8.30 น. ข้าราชการครู ครูกศน.ตำบล บุคลากรกศน.อำเภอเมืองลำปาง ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมเชิงปฎิบัติการโครงการสารสนเทศครบวงจร
       ก่อนการอบรม นายภสุ  เสือนาค   ครูกศน.ตำบลบ้านค่า  นำสวดมนต์
จากนั้นวิทยากร โดย คุณกฤษณะ  เจริญอรุณวัฒนา  ดำเนินการอบรม โดยมีเนื้อหาพอสรุปได้ดังนี้
        5 เดือนทีผ่านมา เราได้อะไรจาก ระบบ บ้าง
- ระบบการตรวจสอบการเงิน  โครงการ ระบบเว็บไซ์
- ระบบการตรวจสอบระบบการเงิน
- ระบบการจัดการโครงการ
- ระบบการจัดการระบบเว็บไซต์
- ระบบรายงานกพช + SAR 
- ระบบการจัดการเอกสารสารบัญ
- ระบบการตรวจสอบระบบพัสดุ
- ระบบการจัดการระบบรายงาน
- ระบบการจัดการรายงานไตรมาส
- โครงการพิเศษ
สิ่งที่กศน.ตำบล จัดทำและนำเข้าระบบ
     สร้างชุดเอกสารขออนุญาตจัดกิจกรรม  สร้างชุดเอกสารขออนุญาตรายงาน

ช่วงบ่าย วิทยากร  สอนให้ลดขนาดรูปภาพเพื่อใช้ในการรายงานในระบบ ซึ่งปกติขนาดรูปภาพมันใหญ่เกินไปทำให้ไม่สามารถอัพโหลดรูปภาพลงโปรแกรมได้ โดยให้โหลดโปรแกรม Image Resizer จากนั้นให้เลือกรูปภาพที่ต้องการรายงาน  เพื่อทำการลดขนาดรูป โดยเข้าไปคลิ๊กขวาที่รูปไปที่ Resize Pictures เลือก Small  คลิ๊ก Resize เป็นอันเสร็จสิ้น ขนาดรูปก็จะลดลง และชื่อไฟล์รูปจะมีวงเล็บคำว่า Small

โดยเข้าไปคลิ๊กขวาที่รูปไปที่ Resize Pictures 


เลือก Small  คลิ๊ก Resize เป็นอันเสร็จสิ้น


ชื่อไฟล์รูปจะมีวงเล็บคำว่า Small


การรายงานการจัดกิจกรรมเข้าสู่ระบบ
     วิทยากรได้อธิบายวิธีการรายงานกิจกรรมในระบบ ซึ่งในการรายงาน จะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน 
ส่วนที่หนึ่งจะเป็นบันทึกข้อความรายงานถึงผู้บริหาร  ส่วนที่สอง เป็นรายงานตามนโยบายรัฐ และเว็บไซด์ ในส่วนนี้จะมีให้เลือกหัวข้อพันธกิจที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ต่อมาจะเป็นเนื้อหารายงานใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และสุดท้ายให้แนบไฟล์รูปภาพรายงาน


แถบรายงานการจัดกิจกรรม


ส่วนที่ 1 บันทึกข้อความรายงานการจัดกิจกรรม


ส่วนที่ 2 รายงานการจัดกิจกรรมพร้อมรูปภาพ

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

อบรมทวิศึกษา รับชมผ่านรายการ ETV. ครั้งที่ 4 (วันที่ 17 มี.ค.59)

อบรมทวิศึกษา รับชมผ่านรายการ ETV. ครั้งที่ 4 (วันที่ 17 มี.ค.59) 
เรื่อง แนวทางการดำเนินงานการจัการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ 
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศึกราช  2551 (ปรับปรุง 2559)

นายสุรพงษ์  จำจด  เลขาธิการ กศน.  เป็นผู้ดำเนินรายงาน โดยมีเนื้อหารายละเอียด ดังนี้
     3 ประเด็นหลัก  ในการปรับวิธีการเรียนการสอนการศึกษาขั้นฐาน
1.ทำไมถึงต้องมีการปรับการเรียน
2.ปรับแล้วทำอย่างไร
3.ทำเมื่อไหร่
  ทำไมต้องทำ จะเห็นว่าในปัจจุบันเรายิ่งจัดการศึกษาเรื่อยๆ คนก็เคลื่อนย้ายจากชุมชนชนบทเข้าสู่ในเมืองมากขึ้น แปลว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับการจัดการศึกษา ซึ่งหมายถึงเราไม่ได้จัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 
       ในการจัดการของกศน.มีวิชาบังคับการวิชาเลือก  พบว่าวิชาเลือกเยอะเกินไป การจัดการยาก ทำให้มีปัญหาสะสม ทำให้ต้องเร่งการจัดการศึกษาใหม่ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งด้วย
       ในการที่จะปรับ หลักคิด 1 หลักสุตรไม่มีปัญหา  แต่การนำหลักสูตรไปใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากกว่า  เนื้อหลักสูตรแบ่งเป็นวิชาบังคับ และวิชาเลือก แต่เราอาจนำไปใช้ไม่ถูก  หลักสุตรดี แต่จะนำหลักสูตรมาใช้อย่างไร วิชาบังคับไม่ค่อยมีปัญหา ทางผู้รับผิดชอบจากส่วนกลาง  วิชาเลือกจากสถานศึกษาเอง ทำให้เปิดวิชาเลือกอย่างหลากหลาย  
       วิธีการปรับวิชาเลือก ใช้ชุมชนเป็นฐาน และผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้สถานศึกษากำหนดแผนการเรียนให้สอดคล้องกับแผนจุลภาค ชุมชน  
1. วิชาที่เปิดสามารถเทียบโอนได้ 
ส่วนกลาง จะปรับในรายวิชาบังคับ ที่ผู้เรียนต้องรู้ในรายวิชาบังคับ ขัอสอบเอ็นเน็ต ต้องออกข้อสอบที่ต้องรู้ เรียนอย่างไรออกสอบอย่างนั้น

อ.ศุทธินี  งามเขตต์
      การใช้หลักสูตร กศน. 2551 และคู่มือการดำเนินงาน ยังใช้แบบเดิม
เรื่องการปรับ โครงสร้างหลักสูตร เหมือนเดิม  วิชาเลือกบังคับ ส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดซึ่งเป็นวิชา วิกฤตของประเทศ เช่น วิชาพลังงานไฟฟ้า  ให้เรียนเหมือนกันทั้งประเทศ  วิชาเลือกเสรี ให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนด ให้สอดคล้องกับชุมชน ระหว่างครูกับนักศึกษา เป็นผู้ร่วมกำหนด  ส่วนวิชาบังคับส่วนกลางเป็นผู้กำหนด
        ITEM SPEC สเป็คข้อสอบเป็นรายข้อ   ให้มีการออกสอบบวกลบไม่เกินสองหลัก  ผังข้อสอบจะบอกว่าความรู้ความจำออกกี่ข้อ   
       มีการเทียบโอนอาชีพ ทางกองพัฒนาฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถานศึกษา 
       การเทียบโอน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จะกำหนดเกณฑ์ให้สถานศึกษา 
       คุณภาพสื่อวิชาเลือก ทางสถานศึกษา ให้ทาง กศน.จังหวัด เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ
       การวัดผลประเมินผล  สถานศึกษาเป็นผู้วัดผลประเมินผลกำหนดเกณฑ์ โดยให้ข้อสอบ บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ 

ผอ.นรา เหล่าวิชยา
     สำนักงานกศน.จังหวัด  จะต้องมาช่วยในเรื่องของการจัดทำหลักสูตรวิชาเลือก 
     การพัฒนาบุคลากร ของกศน.อำเภอ ในเรื่องของ การแนะแนว