วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวัน วันที่ 26 ก.พ.59

บันทึกประจำวัน วันที่ 26 ก.พ.59

           ช่วงเช้า ของวันนี้ข้าพเจ้าได้ไปดูแลนักศึกษาเพื่อทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) โครงการ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว ร่วมใจบริจาคโลหิต หน่วยกพช.จำนวน 10 ชั่วโมง ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง มีนักศึกษาเข้าร่วม จำนวน 19 คน โดยเริ่มทยอยมาบริจาคเลือดตั้งแต่ เวลา 08.00 - 12.00 น. ทั้งนี้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ร่วมบริจาคโลหิตกันอย่างท้วมถ้วน







ช่วงบ่าย ได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง
          แก้ไขงานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตร ช่างไฟฟ้าเบื้องต้น และหลักสูตร จักสานตะกร้าเมคราเม่จากเชือกอัดฟาง


วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อบรมทวิศึกษา รับชมผ่านรายการ ETV. ครั้งที่ 2 (วันที่ 25 ก.พ.59)

อบรมทวิศึกษา รับชมผ่านรายการ ETV. ครั้งที่ 2 (วันที่ 25 ก.พ.59) 
                                      เรื่อง การจัดการศึกษาเรียนร่วม
โดย นายวิทวัต  ปัญจมะวัต  หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนฯ สอศ.

    การจัดการเรียนการสอนระบบ ทวิศึกษา
นโยบาย นายกรัฐมนตรี รมว.ศึกษาธิการ
     - เพื่อให้นักเรียนสายสามัญมีวิชาชีพติดตัว เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะฝีมือ
     - เยาวชนสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ มีงานทำ
หลักการ
     - เรียน 3 ปี ได้ 2 วุฒิ 2 ประสบการณ์ 4 ทางเลือก
     - ฝึกงานในสถานประกอบการ อย่างน้อย 1 ภาคเรียน
     - เน้นให้มีการฝึกปฎิบัติ
     - ผู้สำเร็จการศึกษา มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนด
  ทวิศึกษาเรียนร่วม อาชีวะ + ม.ปลาย
2 หลักสูตร พร้อมกันช่วงเวลาเดียวกัน รายหัว 1 คน เรียนได้ 2 หลักสูตร
เรียน 20 สัปดาห์ จัดตารางสอน ให้เรียน วิชาสายสามัญ กศน.เป็นผู้สอน ใน 10 สัปดาห์แรก 10 สัปดาห์ หลังให้เรียนสายอาชีพ  จัดเรียนให้ครบ 103 หน่วยกิต รวมทั้งฝึกประสบการณ์อาชีพ


รายหัว หลักสูตร ทวิศึกษา
        ประเภทวิชา                                                 งบอุดหนุนรายหัว
1.อุตสาหกรรม                                                           3,900
2.พาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ                                      1,960
3.คหกรรม                                                                  2,200
4.ศิลปกรรม                                                                2,480
5.เกษตรกรรม                                                             2,950
6.ประมง                                                                     2,950
7.อุตสาหกรรมท่องเที่ยว                                            2,200
8.อุตสาหกรรมสิ่งทอ                                                  2,600
9.เทคโนโลยีสารสนเทศ                                             3,900    
 
                                                  

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา)
.....................................................................................

           โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความรู้ด้านอาชีพจากการฝึกปฏิบัติจริง อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงานได้เข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษาได้มากขึ้นสอดรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลิตกำลังคนระดับฝีมือที่มีคุณภาพและมาตรฐานให้มีปริมาณเพียงพอและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน จึงมีความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย สำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกันผลิตผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2556

         อาศัยตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธการ พ.ศ.๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ 
         ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) 
         ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
         ข้อ ๓ การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย หมายถึง การจัดการศึกษาโครงการเรียนร่วมที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษาและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควบคู่กันทั้งสองหลักสูตร โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๓ ปี
          ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ระบบการจัดการศึกษา การคิดหน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตรการรับและเทียบโอนผลการเรียน คุณวุฒิของครูประจำหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา การลงทะเบียนเรียน วิธีเรียน เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา การประกันคุณภาพของหลักสูตร และการพัฒนาหลักสูตร ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรนั้นๆ 
         
          ข้อ ๗ ในกรณีที่ไม่สามารถปฎิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้ หรือมีความจำเป็นต้องปฎิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการตกลงร่วมกันพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด

บันทึกประจำวัน วันที่ 24 ก.พ.59

บันทึกประจำวัน วันที่ 24 ก.พ.59

         วันนี้ได้ปฎิบัติงานในกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว  โดยได้ปฎิบัติงานมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
         -  พิมพ์หลักสูตรวิชา การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระดาษสาและแผนการสอน จำนวน 40 ชั่วโมง
         - ติดตามนักศึกษาที่ขาดเรียน 
         - ทำข้อสอบ Pretest ก่อนการอบรมทวิศึกษา ผ่านเว็บ http://203.147.62.101/pretest/
      

บันทึกประจำวัน วันที่ 23 ก.พ.59

บันทึกประจำวัน วันที่ 23 ก.พ.59

        วันนี้ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง  โดยมีคณะทีมวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง มาให้ความรู้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 60 ท่าน
จากกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว กศน.ตำบลบ้านค่า กศน.ตำบลบ้านเป้า กศน.ตำบลบ้านเอื้อม กศน.ตำบลเวียงเหนือ กศน.ตำบลต้นธงชัย ตำบลละ 10 ท่าน เป็นคณะกรรมการ ศส.ปชต. 


        ทั้งนี้วิทยากรได้ให้ความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยใช้เทคนิคต้นไม้ประชาธิปไตย ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกับเรื่องประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่าต้นไม้ประกอบด้วย 5 ส่วน ส่วนแรก คือผล/ดอก การปลูกต้นไม้ก็หวังผลที่ดีงาม รสชาติหวาน ประชาธิปไตยก็เช่นกัน ต้องการปกครองประชาธิปไตยอย่างไร เช่น การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การอยู่กันอย่างสงบสุข เป็นต้น นั่นคือจุดมุ่งหมายสูงสุดในเรื่องประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่อยากเห็น ส่วนที่สองก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามนั่นก็คือดิน หรือปุ๋ย นั่นเอง หากดินสมบูรณ์ต้นไม้ก็เจริญงอกงามออกดอกออกผลอย่างมากมาย ดังนั้นในเรื่องประชาธิปไตยก็เปรียบเหมือนค่านิยมที่คนในระบอบประชาธิปไตยต้องมี เช่น เรื่องคุณธรรม จริยธรรม  ธรรมาธิบาล หากประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแต่ละคนมีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมที่ดี ก็จะควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดำเนินไปในวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่ดีด้วย ส่วนที่สาม ราก รากเป็นที่ดูดซึมอ

าหาร เป็นที่ยึดเหนี่ยวลำต้นให้ตั้งตรง เปรียบเทียบกับระบอบประชาธิปไตยแล้ว หลักที่สำคัญของประชาธิปไตยที่สำคัญอย่างไรบ้าง หากมีหลักยึดที่มั่นคง  ส่วนที่สี่ ลำต้น ต้นไม้ยืนอยู่ได้ด้วยลำต้นที่แข็งแรง เปรียบกับระบอบประชาธิปไตย มีหน่วยงานองค์กร สถาบันที่จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอด ส่งเสริมความรู้ หรือพัฒนาประชาธิปไตย บางหน่วยงานส่งเสริมประชาธิปไตยทางอ้อม บางหน่วยงานส่งเสริมประชาธิปไตยโดยตรงตามบทบาทหน้าที่ ลำต้นจึงเปรียบเหมือนกับสถาบันในระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง ที่สำคัญที่สุด องค์ประกอบส่วนสุดท้ายของต้นไม้ คือ กิ่งก้าน ที่จะทำให้ออกดอกออกผล คือ กระบวนการ หรือกลไก วิธีการทำงานของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เหล่านี้ จะต้องมีระบบมีกลไกในการทำงานที่ ส่งเสริมตรวจสอบได้ใ หากในระบบนี้ทำงานได้อย่างโปร่งใส ก็สามารถส่งเสริมประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที เพราะฉะนั้นในเรื่องของระบอบประชาธิปไตยกับเรื่องต้นไม้ประชาธิปไตยมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันสามารถนำไปถ่ายทอดได้

      เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการต้นไม้ประชาธิปไตยแล้ว วิทยากรได้ให้คณะกรรม ศส.ปชต. เข้ากลุ่มประจำตำบลของตนเอง แล้วช่วยกันทำแผนการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในพื้นที่ตำบลของตนเอง ระยะเวลา ในเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2559 จากนั้นส่งตัวแทนนำเสนอแผนฯ
      วิทยากรมอบป้าย ศส.ปชต. และแผนการปฎิบัติงานที่แต่ละตำบลได้วางแผนไว้
      พิธีปิด อาจาย์สุพรรณี   วงค์แสน ได้กล่าวปิดการอบรม และมอบใบประกาศนียบัตร
       

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 22-28 ก.พ.59

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 22 - 28 ก.พ.59

วันที่ 22 ก.พ.59
    - วันหยุดเนื่องในวันมาฆบูชา
    
วันที่ 23 ก.พ.59
     - เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล  ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
          
วันที่ 24 ก.พ.59
     - ทำหลักสูตร และแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ วิชา การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระดาษสา จำนวน 40 ชั่วโมง
     
วันที่ 25 ก.พ.59
     - เสนองานกิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตร การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กระดาษสา จำนวน 40 ชั่วโมง 
     
วันที่ 26 ก.พ.59
     - ร่วมบริจาคโลหิต ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
     - ดูแลนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โครงการกศน.ตำบลบ่อแฮ้วร่วมใจบริจาคโลหิต
  
วันที่ 27 ก.พ.59
    - วันหยุด 

วันที่ 28 ก.พ.59
    - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักศึกษากศน.ตำบลบ่อแฮ้ว ครั้งที่ 16

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 15 (วันที่ 21 ก.พ.59)

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 15
  วันที่ 21 ก.พ. 59
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
         วิชา บัญชีชาวบ้าน  ครูสอนเรื่อง บัญชีชาวบ้านง่ายนิดเดียว ครูอธิบายและยกตัวอย่าง ความหมาย ประโยชน์ของการทำบัญชีชาวบ้าน หลักการ แนวคิด การทำบัญชีชาวบ้าน และรูปแบบและวิธีการทำบัญชีชาวบ้าน จากนั้นให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฎิบัติการทำบัญชีชาวบ้านจากโจทย์ที่ครูมอบหมายให้ ครูเฉลยคำตอบวิธีการบันทึกบัญชีชาวบ้านไปพร้อมๆกัน 
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป
         ทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต.ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า หัวข้อต่อไปนี้
           1. แนวคิด หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
           2. บัญชีชาวบ้านตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
         วิชา ทรัพยากรของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ครูสอน เรื่อง องค์กรที่มีบทบาทในการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรณีศึกษาเกี่ยวกับจุดแข็งในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน และจดบันทึกความรู้ลงในสมุด ผู้เรียนซักถาม ครูอธิบายเพิ่มเติม
          รูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป
          ทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
         วิชา การนำเสนองานเขียนประเภทต่างๆ  ครูสอนเรื่อง กรอบแนวคิดหรือแผนภาพความคิดและการสรุปโครงเรื่อง ครูอธิบายกรอบแนวคิดหรือแผนภาพความคิดให้นักศึกษาเข้าใจ จากนั้นให้ผู้เรียนลองเขียนแผนภาพรูปแบบกรอบแนวคิดหรือแผนภาพความคิด ในรูปแบบของผู้เรียนเอง จากนั้นครูให้ผู้เรียนนำเสนอรูปแบบกรอบแนวคิดหรือแผนภาพความคิด ครูแนะนำเพิ่มเติม ครูกล่าวถึงประโยชน์ของแผนภาพความคิด เพื่อชี้ให้เห็นถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป  จากนั้นทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต. ให้ผู้เรียนสร้างแผนภาพความคิด จากหัวข้อเรื่อง สิ่งมีชีวิต
          วิชา การขายและการตลาด     ครูสอนเรื่อง การส่งเสริมการขายและการโฆษณา ครูอธิบายและยกตัวอย่าง การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน จดบันทึกความรู้ลงในสมุด จากนั้นครูแบ่งกลุ่ม ให้ทำการส่งเสริมการขายและโฆษณาสินค้าโดยไม่ซ้ำกัน แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป  จากนั้นทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต.  ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิต และราคา
          

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 14 (วันที่14 ก.พ.59)

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 14
  วันที่ 14 ก.พ. 59
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
         วิชา ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ครูสอนเรื่อง การวิเคราะห์โอกาส อุปสรรค การสร้างวิสัยทัศน์                การวางแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  ครูอธิบายการวิเคราะห์ SWOT ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนร่วมกัน วิเคราะห์ SWOT จากใบงานที่มอบหมายให้ ส่งตัวแทนออกนำเสนอ ครูเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป
         ทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต.ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า หัวข้อต่อไปนี้
         - ตัวอย่าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้
         วิชา ทรัพยากรของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ครูสอน เรื่อง ทรัพยากรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครูอธิบาย ทรัพยากรในประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ อันเป็นรากฐานอันมั่นคงของการผลิตในภาคการเกษตร ครูพูดถึงผลไม้ ป่าไม้ สัตว์ป่า พื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งแร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุก  ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและจดบันทึกความรู้ จากนั้นครูมอบหมายให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันศึกษาค้นคว้า ดังหัวข้อต่อไปนี้  กลุ่มที่ 1. ทรัพยากรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา กลุ่มที่ 2 ทรัพยากรสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศมาเลเซีย กลุ่มที่ 3 ทรัพยากรสาธารณรัฐสิงคโปร์และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย 
          จากนั้นให้ผู้เรียน ส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
          ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป
          ทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
          ครุมอบหมายงานกรต.ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า หัวข้อต่อไปนี้
           - ทรัพยากรสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไนดารุสซาลาม
    ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
         วิชา การนำเสนองานเขียนประเภทต่างๆ  ครูสอนเรื่อง รูปแบบงานเขียน เรื่องบทความ ครูอธิบายวิธีการเขียนบทความ การใช้ภาษาเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย จากนั้นให้ผู้เรียนนำบทความที่ครูให้ไปหามาคนละบทความ เพื่อนำมาสรุปว่าผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างไร ให้แต่ละคนสรุปบทความแล้วอ่านให้เพื่อนฟัง ครูเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหาย
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป  จากนั้นทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต. ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าหัวข้อเรื่องดังต่อไปนี้
             1. สารคดี
             2. เรื่องสั้น
             3. นวนิยาย
         วิชา การขายและการตลาด     ครูสอนเรื่อง  การขายและเทคนิคการขาย ครูอธิบาย วิวัฒนาการการขาย และประเภทของงานขาย ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน จดบันทึกความรู้ลงในสมุด จากนั้นครูมอบหมายให้ทำกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประเภทของพนักงานขาย  กลุ่มที่ 2 คุณสมบัติและจรรยาบรรณของนักขาย โดยให้แต่ละกลุ่ม สรุปความรู้ที่ได้ลงในแผนผังความคิด (Mind map) ตกแต่งให้สวยงาม แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป  จากนั้นทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต.  ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องรายได้ของผู้ประกอบอาชีพนักขายและศิลปการขาย
          

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 13 (วันที่ 7 ก.พ.59)

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 13
  วันที่ 7 ก.พ. 59
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
         วิชา ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ครูสอนเรื่อง ความหมาย ความสำคัญ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ครูอธิบายความหมาย ความสำคัญ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและศึกษาจากใบความรู้ ไปพร้อมๆกัน และจดบันทึกความรู้ลงในสมุด ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย ครูอธิบายเพิ่มเติม 
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป
         ทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต.ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า หัวข้อต่อไปนี้
         - ทฤษฎีหลักการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
         วิชา ทรัพยากรของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ครูสอน เรื่อง ความหมายและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ครูอธิบาย ความหมาย ของคำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" จากผู้แต่งหนังสือจำนวน 3 ท่าน จากนั้นสรุปให้ผู้เรียนเข้าใจ ครูมอบหมายให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันศึกษาค้นคว้า ดังหัวข้อต่อไปนี้  กลุ่มที่ 1. ได้แก่ ทรัพยากรน้ำ  และทรัพยากรดิน  กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ทรัพยากรป่าไม้  และทรัพยากรสัตว์ป่า กลุ่มที่ 3 ได้แก่ เรื่อง ทรัพยากรแร่ธาตุ และทรัพยากรปะการัง  
          จากนั้นให้ผู้เรียน ส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
          ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป
          ทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
                                                                                                                                                ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
         วิชา การนำเสนองานเขียนประเภทต่างๆ  ครูสอนเรื่อง รูปแบบงานเขียน ครูอธิบายรูปแบบงานเขียน ได้แก่ การเขียนเรียงความ อธิบายองค์ประกอบการเขียนเรียงความ ยกตัวอย่างงานเขียน ให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจ และได้เห็นแนวทางในการเขียนเรียงความ จากนั้นครูทดสอบให้ผู้เรียน เขียนเรียงความ เรื่อง ครอบครัวพอเพียงของฉัน ครูอ่านบทเรียงความแล้วคัดบทความที่ดีที่สุด 3 บทความ และให้ผู้เขียนเรียงความอ่านให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป  จากนั้นทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต. ให้ผู้เรียนไปคัดเลือกบทความจากหนังสือพิมพ์ มาคนละ 1 บทความ
         วิชา การขายและการตลาด     ครูสอนเรื่อง  การตลาดและการจัดการ ครูอธิบาย ความหมายหลักการตลาด และข้อมูลทางการตลาด ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน จดบันทึกความรู้ลงในสมุด จากนั้นครูมอบหมายให้ทำกิจกรรมกลุ่ม เรื่อง ตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยให้แต่ละกลุ่ม สรุปความรู้ที่ได้ลงในแผนผังความคิด (Mind map) ตกแต่งให้สวยงาม แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
         ครูกับผู้เรียนร่วมกันสรุป  จากนั้นทำแบบทำสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ
         ครูมอบหมายงานกรต.  ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องวิธีการหาข้อมูล เก็บข้อมูล และการนำข้อมูลทางการตลาดมาใช้