บันทึกประจำวัน วันที่ 1 ก.ย. 58
วันนี้ ดิฉันได้เข้ามาปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง ในชุดผ้าพื้นเมืองสีม่วงอ่อน เพราะจะต้องมาต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก กศน.อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มาถึงก็จัดการเอาเอ็กแสตนด์ กับโฟมบอร์ด ซึ่งเป็นผลงานของกศน.ตำบลทั้ง 19 ตำบล ออกมาจัดเรียงเพื่อนำเสนองานเกี่ยวกับการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ไปปฎิบัติใช้ในกิจกรรมงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง โดยมีครูกศน.ตำบลต้นธงชัย นายสุรศักดิ์ แจ้งสว่าง ครูสายฝน ฝั้นแก้ว และนางสาวพรประภา หมายจริง ครูผู้สอนคนพิการ ได้ช่วยกันจัดเรียงดูแลสถานที่บริเวณด้านหน้า จากนั้นก็ได้เข้าไปจัดเก้าอี้ ในห้องประชุม สักครู่แม่บ้านเดินเข้ามาบอกว่า ทางคณะศึกษาดูงานจะไม่เข้ามาในกศน.อำเภอเมืองลำปาง (อึ้งไปสักแป็บ) อาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตร มาแจ้งให้ทราบว่าทางคณะศึกษาดูงาน จะเข้ามาตอนบ่ายในพื้นที่ ให้ไปต้อนรับคณะที่นู้นเลย และให้ดิฉันเข้าไปพื้นที่กับครูปิ่นนภา คำปงศักดิ์ เพื่อไปเตรียมรอรับในพื้นที่ ดิฉ้นจึงต้องขับรถพาครูปิ่น ไปยังแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของนางสาวคณิต กันทะตั๋น บ้านท่าส้มป่อย หมู่ 1 ตำบลทุ่งฝาย ดิฉันกับครูปิ่นนภา ได้เข้าไปประสานงานและเตรียมสถานที่
ช่วงบ่ายทางคณะศึกษาดูงานมาถึง นำโดยท่านผอ.จีรศักดิ์ ผลนาค ผอ.กศน.อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และคณะผู้ตอนรับนำโดยท่านผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ อาจารย์ ยุรัยยา อินทรวิจิตร และคณะครูกศน.อำเภอเมือง จากนั้นวิทยากร นางสาวคณิต กันทะตั๋น ได้บรรยายให้ความรู้โดยแบ่งออกเป็นฐานการเรียนรู้ดังนี้
1. การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อสร้างแหล่งอาหารไว้บริโภคในครัวเรือนและขายเป็นรายได้หลักรายวันและยังสามารถนำขี้ไก่มาใส่พืชผักภายในสวนและนำมาตากแห้งขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย
ช่วงบ่ายทางคณะศึกษาดูงานมาถึง นำโดยท่านผอ.จีรศักดิ์ ผลนาค ผอ.กศน.อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และคณะผู้ตอนรับนำโดยท่านผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ อาจารย์ ยุรัยยา อินทรวิจิตร และคณะครูกศน.อำเภอเมือง จากนั้นวิทยากร นางสาวคณิต กันทะตั๋น ได้บรรยายให้ความรู้โดยแบ่งออกเป็นฐานการเรียนรู้ดังนี้
1. การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อสร้างแหล่งอาหารไว้บริโภคในครัวเรือนและขายเป็นรายได้หลักรายวันและยังสามารถนำขี้ไก่มาใส่พืชผักภายในสวนและนำมาตากแห้งขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย
2. เลี้ยงหมูแม่พันธุ์แบบยกพื้นสูง เพื่อจำหน่ายลูกหมูให้กับผู้เลี้ยงหมูขุนในชุมชนและตำบลใกล้เคียง
จำนวนแม่พันธุ์ผลิตไม่มาก การเลี้ยงแบบยกพื้นสูงนี้สามารถควบคุมเรื่องกลิ่นเพราะทำความสะอาดได้ง่ายแม่หมูมีระยะอุ้มท้อง
114 วัน ระยะให้นม 30 วัน
ระยะอนุบาลอีก 15 วัน จึงจับส่งให้ลูกค้าได้จำหน่ายตัวละ 1,500
บาท การเลี้ยงหมูแม่พันธุนี้ เสมือน"กระปุกออมสิน" กล่าวคือ
หยอดกระปุกทุกวันเป็นค่าการจัดการ อีก 159 -160 วัน
เปิดกระปุกออมสินเป็นรายได้ก้อนโตเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไว้ล่วงหน้า
3. การขุดบ่อน้ำไว้เพื่อเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคและจำหน่าย
ขนาด 100 x 100 ตรม. และเพื่อประโยชน์ใช้สอยในการกักน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลนภายในสวนฤดูกาลนี้ได้เลี้ยงปลาหมอเทศเลี้ยงไว้ปริมาณไม่มากเพื่อศึกษาตลาดและการลงทุนในอนาคต
4. การปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณรอบบ่อปลาเลือกเป็นพืชผักยืนต้น
เช่น ชะอม มะเขือเปราะ มะเขือพวง พริก ข่า
ตะไคร้ ปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดโดยไม่ต้องเตรียมแปลงดินบ่อยๆการดูแลรักษาก็ง่าย
สามารถเก็บกินและเก็บขายได้ เฉลี่ย 2 วันต่อครั้งส่วน บริเวณทางเดินริมรั้วได้ปลูกผลไม้ยืนต้น
เช่น มะม่วง มะยม พุทรา มะกอก มะละกอ กล้วย มะพร้าวน้ำหอม ปลูกไว้เพื่อบริโภคผลไม้ตามฤดูกาลภายในครัวเรือน
5. การปลูกหญ้าแพงโกล่า พื้นที่ 1 ไร่ ไว้เพื่อจำหน่ายร่วมกับวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเสบียงสัตว์เพื่อการจำหน่ายบ้านท่าส้มป่อยเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรถม้าลำปาง
ช้าง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ เก้ง กวาง กระต่าย เป็นสมาชิกเครือข่ายผู้ปลูกหญ้าภาคเหนือ
เพื่อ เชื่อมโยงด้านการตลาด การผลิต สร้างความมั่นคงด้านอาชีพเนื่องจากปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายปี
สามารถตัดทุกๆ45 วันจะได้ผลผลิตหญ้าสดจะได้ผลผลิต
2,500 - 3,000 กก.จำหน่าย กก.ๆละ 2 บาท ส่วนผลผลิตหญ้าแห้งจะได้ผลผลิต 800-1,000 กก.ๆละ 6 บาท/ไร่ เฉลี่ยแล้วตัดหญ้าจำหน่ายได้ 6
ครั้งใน 1 ปี
6. การปลูกไผ่กิมซุง พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 80 ต้น
ไผ่ชนิดนี้ให้ผลผลิตเร็วหลังจากปลูกได้ 8 เดือน ให้หน่อทั้งปี ไม่พักตัวในหน้าหนาว
ไผ่มีรดชาดหวานกรอบ เนื้อไม่มีเสี้ยน เปลือกบาง ให้ผลผลิตต่อไร่สูง อาทิตย์ละ
ประมาณ 40-50 กก. สามารถบังคับให้หน่อออกในฤดูแล้งได้จะได้ราคาสูงกว่าในฤดูฝน
จำหน่ายในรูปแบบหน่อสด และแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง และเพาะกิ่งพันธุ์ขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง
สร้างรายได้เป็นรายสัปดาห์ ระยะเวลาให้ผลผลิตชนกอ ประมาณ 10 ปี
7. การปลูกข้าว พื้นที่ 2 ไร่ 200
ตารางวา ซึ่งเพียงพอกับการบริโภคทั้งปีเหลือก็จำหน่ายมียุ้งฉางไว้เก็บข้าวเปลือกริโภคในครัวเรือนข้าวที่ปลูกเป็นข้าวธัญสิริน ที่ความนุ่ม อร่อย และข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลผลิต 650 กก
/ไร่ การมีข้าวไว้บริโภคถือว่าเป็นการใช้หลักการมีเหตุผล
จากการได้เรียนรู้ ในแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านท่าส้มป่อย ทำให้ได้แนวคิดในการบริหารจัดการในการดำรงชีวิตของตน และการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจจะนำความรู้ไปขยายต่อคนในครอบครัว นักศึกษา และ คนในชุมชน
ดีมากค่ะ นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปเป็นแนวคิด ปรับใช้นะคะ
ตอบลบ