กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
ตั้งอยู่ที่ บ้านฮ่องกอก หมู่ 9 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
โทรศัพท์ 085 - 7148189 E-mail chanokkorn.j@hotmail.com
ระยะเวลาดำเนินงาน
หน่วยงานที่เข้าร่วมส่งเสริมและสนับสนุน
1. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว
2. เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว
3. ศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ
4. วัดฮ่องกอก
5. วัดท่าล้อ
ครูที่ปฎิบัติงานในกศน.ตำบล
นางสาวชนกกร ทรายมูล
กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว มีแผนปฎิบัติการประจำปี 2558 มีการดำเนินงานตามโครงการที่ได้วางแผนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ได้ดำเนินงานตามบทบาทภาระงาน ได้แก่ งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน งานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน งานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และงานการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้ โครงการทุกกิจกรรมได้มีการประชุม ประชาคมร่วมก้บประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ มีสมุดบันทึกประชาคม ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา เป็นห้องเรียนที่แบ่งส่วนจากห้องคอมพิวเตอร์ มีคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการสืบค้นข้อมูล จำนวน 10 เครื่อง มีหนังสือแบบเรียน สื่อให้ความรู้ เครื่องเล่น CD VCD โทรทัศน์ จานดาวเทียม อินเตอร์เน็ต มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอสำหรับนักศึกษ า หากมีกิจกรรมที่จะต้องลงมือปฎิบัติ ครูกศน.ก็จะให้นักศึกษาลงมาเรียนข้างล่าง ซึ่งมีโต๊ะเก้าอี้พร้อมสำหรับกิจกรรมด้านล่าง และบริเวณด้านล่างอาคาร กศน. เหมาะสำหรับที่จะให้นักศึกษาได้เรียนนอกห้องเรียน เช่น กิจกรรมสำรวจระบบนิเวศ การหาข้อมูล เป็นต้น
ในแต่ละปีงบประมาณ กศน.ตำบล ได้มีการประชุมคณะกรรมการ กศน.ตำบล จำนวน 2 ครั้ง เพื่อแจ้งให้ทราบถึงนโยบายในการทำงานของสำนักงาน กศน. สำนักงานกศน.จังหวัด กศน.อำเภอ และร่วมกันดำเนินงานวางแผน และร่วมเป็นคณะกรรมการ กศน.ตำบล เพื่อลงนามเห็นชอบ แผนการปฎิบัติงานประจำปี ตลอดจนหลักสูตรต่างๆ ซึ่งจะดำเนินการในปีงบประมาณนั้นๆ
เมื่อมีการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม กศน.ตำบลมีการนิเทศติดตามผล และรายงานผลการปฎิบัติงานประจำปี โดยจะเห็นได้จากการรายงานผลการจัดกิจกรรมเป็นรูปภาพ และเป็นข้อมูลรายงานผ่านเว็บไซด์ Google Dive , Block และ Line
การประชาสัมพันธ์ในงานกิจกรรมของกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว แผ่นพับ ใบปลิว หนังสือประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ภาคีเครือข่ายของกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในเรื่องงบประมาณ โดยจัดสรรให้กศน.ตำบล นำงบประมาณไปดำเนินการจัดกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้ส่งเสริมในด้านต่างๆ ประจำทุกปี ตลอดจนอาคารสถานที่ก็ได้รับการสนับสนุนเช่นกัน และศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในเรื่องของค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และมอบหมายให้ครูกศน.ตำบล ดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยให้บริการประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการอีกด้วย
การจัดกิจกรรมของกศน.ตำบล ได้มีการสำรวจปัญหาความต้องการของประชาชน โดยจะใช้วิธีการประชุม ประชาคม กลุ่มเป้าหมายเพื่อทราบปัญหาความต้องการ แล้วนำปัญหาความต้องการดังกล่าวมาจัดทำแผนการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ ครอบคลุมทุกกิจกรรมตามภารกิจของ กศน.ตำบล มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย มีสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ที่เพียงพอหลากหลาย มีการใช้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เช่น วัดท่าล้อ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในวัดท่าล้อมีห้องสมุดไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมอีกด้วย มีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการประเมินและรายงานผล
มีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านท่าล้อ กลุ่มการทำกระดาษสา หมู่ 9 ต.บ่อแฮ้ว ในกศน.ตำบล มีการให้บริการ Internet เพื่อการเรียนรู้ ในการสืบค้นข้อมูล ให้กับประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักศึกษากศน. การจัดการเรียนการสอนทุกครั้ง ครูผู้สอนจะมอบหมายให้นักศึกษาทำใบงาน โดยให้ค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต มีการจัดมุมอาเซียนเพื่อให้บริการนักศึกษา และผู้ที่สนใจค้นคว้า ได้อย่างสะดวก และเป็นสัดส่วน
มีการให้บริการส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมวาดเขียน เรียนอ่าน สำนวนสุภาษิต กิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านการเล่านิทาน กิจกรรมรักเรียน เขียนอ่านบ้านหนังสืออัจฉริยะ
จากผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม ผู้เรียน/ผู้รับบริการ ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในระดับดีขึ้นไป เห็นได้จากสรุปผลการจัดกิจกรรม ตามแบบประเมินพึงพอใจของแต่ละกิจกรรม
กศน.ตำบล ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรมาใช้ในการจัดการศึกษาและพัฒนากศน.ตำบลอย่าง ต่อเนื่อง อาทิเช่น สนับสนุนทรัพยากรบุคคล มาให้ความรู้จากหน่วยงาน กกต.จังหวัดลำปาง พระวิทยากร จากวัดท่าล้อ วัดฮ่องกอก อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาลำปาง เป็นต้น
การให้ความร่วมมือของชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ตั้งแต่การสำรวจข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยวิธีการประชุม ประชาคม ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรม ประสานงาน ให้ความร่วมมือในการจัดสถานที่ อนุเคราะห์วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้เรียน/ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตได้
โทรศัพท์ 085 - 7148189 E-mail chanokkorn.j@hotmail.com
ระยะเวลาดำเนินงาน
หน่วยงานที่เข้าร่วมส่งเสริมและสนับสนุน
1. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว
2. เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว
3. ศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ
4. วัดฮ่องกอก
5. วัดท่าล้อ
ครูที่ปฎิบัติงานในกศน.ตำบล
นางสาวชนกกร ทรายมูล
กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว มีแผนปฎิบัติการประจำปี 2558 มีการดำเนินงานตามโครงการที่ได้วางแผนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ได้ดำเนินงานตามบทบาทภาระงาน ได้แก่ งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน งานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน งานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และงานการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้ โครงการทุกกิจกรรมได้มีการประชุม ประชาคมร่วมก้บประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ มีสมุดบันทึกประชาคม ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา เป็นห้องเรียนที่แบ่งส่วนจากห้องคอมพิวเตอร์ มีคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการสืบค้นข้อมูล จำนวน 10 เครื่อง มีหนังสือแบบเรียน สื่อให้ความรู้ เครื่องเล่น CD VCD โทรทัศน์ จานดาวเทียม อินเตอร์เน็ต มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอสำหรับนักศึกษ า หากมีกิจกรรมที่จะต้องลงมือปฎิบัติ ครูกศน.ก็จะให้นักศึกษาลงมาเรียนข้างล่าง ซึ่งมีโต๊ะเก้าอี้พร้อมสำหรับกิจกรรมด้านล่าง และบริเวณด้านล่างอาคาร กศน. เหมาะสำหรับที่จะให้นักศึกษาได้เรียนนอกห้องเรียน เช่น กิจกรรมสำรวจระบบนิเวศ การหาข้อมูล เป็นต้น
ในแต่ละปีงบประมาณ กศน.ตำบล ได้มีการประชุมคณะกรรมการ กศน.ตำบล จำนวน 2 ครั้ง เพื่อแจ้งให้ทราบถึงนโยบายในการทำงานของสำนักงาน กศน. สำนักงานกศน.จังหวัด กศน.อำเภอ และร่วมกันดำเนินงานวางแผน และร่วมเป็นคณะกรรมการ กศน.ตำบล เพื่อลงนามเห็นชอบ แผนการปฎิบัติงานประจำปี ตลอดจนหลักสูตรต่างๆ ซึ่งจะดำเนินการในปีงบประมาณนั้นๆ
เมื่อมีการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม กศน.ตำบลมีการนิเทศติดตามผล และรายงานผลการปฎิบัติงานประจำปี โดยจะเห็นได้จากการรายงานผลการจัดกิจกรรมเป็นรูปภาพ และเป็นข้อมูลรายงานผ่านเว็บไซด์ Google Dive , Block และ Line
การประชาสัมพันธ์ในงานกิจกรรมของกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน Facebook กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว แผ่นพับ ใบปลิว หนังสือประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ภาคีเครือข่ายของกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในเรื่องงบประมาณ โดยจัดสรรให้กศน.ตำบล นำงบประมาณไปดำเนินการจัดกิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้ส่งเสริมในด้านต่างๆ ประจำทุกปี ตลอดจนอาคารสถานที่ก็ได้รับการสนับสนุนเช่นกัน และศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในเรื่องของค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และมอบหมายให้ครูกศน.ตำบล ดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยให้บริการประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการอีกด้วย
การจัดกิจกรรมของกศน.ตำบล ได้มีการสำรวจปัญหาความต้องการของประชาชน โดยจะใช้วิธีการประชุม ประชาคม กลุ่มเป้าหมายเพื่อทราบปัญหาความต้องการ แล้วนำปัญหาความต้องการดังกล่าวมาจัดทำแผนการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ ครอบคลุมทุกกิจกรรมตามภารกิจของ กศน.ตำบล มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย มีสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ที่เพียงพอหลากหลาย มีการใช้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เช่น วัดท่าล้อ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในวัดท่าล้อมีห้องสมุดไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมอีกด้วย มีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการประเมินและรายงานผล
มีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านท่าล้อ กลุ่มการทำกระดาษสา หมู่ 9 ต.บ่อแฮ้ว ในกศน.ตำบล มีการให้บริการ Internet เพื่อการเรียนรู้ ในการสืบค้นข้อมูล ให้กับประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักศึกษากศน. การจัดการเรียนการสอนทุกครั้ง ครูผู้สอนจะมอบหมายให้นักศึกษาทำใบงาน โดยให้ค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต มีการจัดมุมอาเซียนเพื่อให้บริการนักศึกษา และผู้ที่สนใจค้นคว้า ได้อย่างสะดวก และเป็นสัดส่วน
มีการให้บริการส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมวาดเขียน เรียนอ่าน สำนวนสุภาษิต กิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านการเล่านิทาน กิจกรรมรักเรียน เขียนอ่านบ้านหนังสืออัจฉริยะ
กศน.ตำบล ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรมาใช้ในการจัดการศึกษาและพัฒนากศน.ตำบลอย่าง ต่อเนื่อง อาทิเช่น สนับสนุนทรัพยากรบุคคล มาให้ความรู้จากหน่วยงาน กกต.จังหวัดลำปาง พระวิทยากร จากวัดท่าล้อ วัดฮ่องกอก อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาลำปาง เป็นต้น
การให้ความร่วมมือของชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ตั้งแต่การสำรวจข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยวิธีการประชุม ประชาคม ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรม ประสานงาน ให้ความร่วมมือในการจัดสถานที่ อนุเคราะห์วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้เรียน/ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตได้
ดีมากค่ะ
ตอบลบ