วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ประชุมเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน ตามโครงการศึกษาจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย

                                                       วันที่ 15 กันยายน 2558
    ประชุม เรื่อง คืนข้อมูลให้ชุมชน ตามโครงการศึกษาจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย
                                          ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว
โดย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดเชียงใหม่
- งานประชาสัมพันธ์ ให้ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ มาแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ โดยให้นำหลักฐาน ได้แก่ บัตรประชาชนตัวจริง กับทะเบียนบ้านตัวจริง ในวันที่ 17 -18 กันยายน 2558
    วันที่ 17 กันยายน 2558     หมู่ 1, 5, 12, 15
    วันที่ 18 กันยายน 2558     หมู่ 16, 17, 9


 แนะนำ บุคลากร สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
     1. นางสาวพิมพ์พร  เหล่าไชย
     2. น.ส.ลำพึง  อาริยะ
แนะนำหน่วยงาน
     - สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 รับผิดชอบ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน
ภารกิจหน้าที่ ทางด้านวิชาการ ด้านพัฒนาสังคม ยกตัวอย่าง งานวิจัย
ทั้งนี้ ในพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว มีบ้านท่าล้อและบ้านฮ่องกอก ที่ได้เก็บข้อมูล แต่ไม่ได้เลือกเป็นกลุ่มอย่างในงานวิจัยในครั้งนี้

                              นำเสนอ โครงการวิจัยการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
ความสำคัญและที่มา
     ภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐและครัวเรือน ในด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุซึ่งต้องมีการดูแลอย่างต่อเนื่องในระดับรายจ่ายที่สูงกว่ากลุ่มวัยอื่น ๆ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 จึงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างกัน และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่เป็นจริง
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัยในปัจจุบัน
     2. เพื่อศึกษาความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย
     3. เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย
ระเบียบวิจัย
     การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ ศึกษาโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
กรอบแนวคิด
     ความต้องการการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย
-ด้านความมั่นคงในชีวิต
      1. สุขภาพ  2. ครอบครัวและการอยู่อาศัย  3. ที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
-ด้านการศึกษา
      1. การศึกษาและการเรียนรู้  2. การเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร
-ด้านเศรษฐกิจ
      1. รายได้  2. การออม
-ด้านสังคม
      1. การมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคม
      2. การเข้าถึงบริการทางสังคม
รูปแบบการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละช่วงวัย
- ผู้สูงอายุวัยต้น (ุ60-69 ปี)
- ผู้สูงอายุวัยกลาง (ุ70-79 ปี)
- ผู้สูงอายุวัยปลาย (ุ80 ปีขึ้นไป)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     1. นำไปวางแผนการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัยตามรูปแบบที่เหมาะสม
     2. นำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัยให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะเพื่อการปฎิบัติ
      1. ด้านความมั่นคงในชีวิต
          1.1 สุขภาพ
           - ควรจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุให้กับบุตรและญาติที่เป็นผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุ รวมทั้งอาสาสมัครดูแล ควรผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลทางกระทรวงสาธารณสุข และมีการติดตามผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
           1.2 ควรจัดให้มีนักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด และนักสังคมสงเคราะห์ หมุนเวียนมาปฎิบัติหน้าที่ใน รพ.สต. เพื่อให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาให้กับคนในชุมชน รวมทั้งผู้ดูแลเกี่ยวกับการปรับสภาพจิตใจให้มีความพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุ
           1.3 ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดให้ชุมชนมีระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้รูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุ
     2. ด้านความมั่นคงในชีวิต
           -ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการบูรณาการความร่วมมือในการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตแก่ผู้สูงอายุ ทั้งภายในบ้านและที่สาธารณะให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านชุมชน
    3. ด้านการศึกษาและการเรียนรู้
         - ควรเตรียมความพร้อมด้านการสร้างเสริมศักยภาพในเรื่องของการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุ ผู้ทีจะเข้าสู่วัยสูงอายุ สมาชิกในครัวเรือน หรือญาติพี่น้อง
         - ควรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชนตามอัธยาศัย เช่น จัดให้มีกิจกรรมของศูนย์ถ่ายทอดวัฒนธรรม ศูนย์สุขภาพอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ


             จากการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ทำให้ทราบผลข้อมูลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัยไปจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น