วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 29 ธ.ค.59

บันทึกประจำวัน วันที่ 29 ธ.ค.59

           ช่วงเช้า เข้าปฎิบัติงานในกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว  ทำความสะอาดภายนอกอาคาร เก็บกวาดขยะ จากนั้นทำโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตร การพัฒนารูปแบบการตัดเย็บกระเป๋าผ้า ในระบบฐานข้อมูลบริหารงานกศน.
           ช่วงบ่าย เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  เขียนรายละเอียด โครงการหนึ่งคน หนึ่งอาชีพ วิชา การทำเครื่องประดับตกแต่งกิ๊ฟช็อป  จำนวน 3 ชั่วโมง จัดกิจกรรม วันที่ 8 มกราคม 2559 เป้าหมาย จำนวน 15 คน ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว 
          เวลา 14.00 น. ประชุม เรื่องวันเด็กแห่งชาติ  โดยอาจาย์ยุรัยยา  อินทรวิจิตร 
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
           การจัดนิทรรศการ บอร์ดความรู้ ได้แก่ อาเซียนศึกษา ส่งเสริมการอ่าน ตกแต่งให้สวยงาม
การจัดอาหาร เครื่องดื่มสำหรับเด็ก  งบประมาณของอบจ. จำนวน 20,000 บาท เพื่อให้ในการบริหารงานในกิจกรรมวันเด็ก หลักฐานการเบิกจ่าย รายชื่อเด็กลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 250 คน
ติดต่อ ประสานงาน คุณปาริฉัตร  ป้อมไชยสงค์
           มอบหมายงานและทบทวนคำสั่งแต่งตั้ง (จดไม่ทัน)
ส่วนหน้าที่ได้รับมอบหมายของข้าพเจ้า นางสาวชนกกร  ทรายมูล กิจกรรมการแสดง จำนวน 1 ชุด ร่วมกับนางสาวสุกัญญา  ชัยสงค์ 
           
งานแจ้งจากฝ่ายอำนวยการ โดยอาจารย์นาตยา  ทุนกุล
วันที่ 16 มกราคม 2559
1.ครูร่วมกันกำหนดคำขวัญของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับงานวันครู
2.กิจกรรมชุมนุมครู
3.ครูจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านเด็กนักศึกษา
รายงานผลในวันที่ 25 มกราคม 2559

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 28 ธ.ค.58 - 3 ม.ค. 59

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 28 ธ.ค.58 - 3 ม.ค.59

วันที่ 28 ธ.ค.58
     เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  
      - เขียนบล็อกแผนปฎิบัติงานประจำสัปดาห์
      - เขียนบล็อกรายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 8

วันที่ 29 ธ.ค.58
     เข้าปฎิบัติงานใน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
     - กรอกข้อมูลโครงการงานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพลงในระบบฐานข้อมูลโครงการ
      
วันที่ 30 ธ.ค.58
     เข้าปฎิบัติงานใน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
       - กรอกข้อมูลโครงการงานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพลงในระบบฐานข้อมูลโครงการ
     
วันที่ 31 ธ.ค.58
     - วันหยุด
     
วันที่ 1 ม.ค.59
    -วันหยุด 

วันที่ 2 ม.ค.59
   -วันหยุด 

วันที่ 3 ม.ค.59
    -วันหยุด

บันทึกการพบกลุ่ม ครั้งที่ 8 (วันที่ 27 ธ.ค.58)

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 8
  วันที่ 27 ธ.ค. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  
 วิชาพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง  ครูสอนเรื่อง การจัดทำแผนการตลาด  นำเข้าสู่บทเรียน ครูสอบถามงานที่มอบหมายให้ไปศึกษาก่อนมาพบกลุ่ม เรื่องการจัดทำแผนการตลาด
      ครูสนทนาวิธีการจัดทำแผนการตลาดและร่วมกับผู้เรียนแลกเปลี่ยนความรู้วิธีการทำแผนการตลาด  วิธีกำหนดเป้าหมายของตลาด ให้ผู้เรียนบอกที่มาของทุนและปัจจัยการผลิตหรือการบริการจากประสบการณ์ที่พบเห็นและเรียนรู้
     ครูร่วมกับผู้เรียนแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำแผนการตลาด  ที่มาของทุนปัจจัยการผลิตหรือการบริการโดยการสนทนา ตีความหมายและที่มา ใช้เวลา 30  นาที  ให้ผู้เรียนอ่านใบความรู้เรื่องวิธีการจัดทำแผนการตลาด  ใช้เวลา 20 นาที ผู้เรียนใช้วิธีการแก้ปัญหาจากการเรียนโดยการชักถามครูและเพื่อนๆและทำใบงาน 30 นาที                                                          

     ครูสรุปผลจากการทำใบงานเรื่อง การจัดทำแผนการตลาดโดยครูสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนในการทำใบงาน ใช้เวลา  30 นาที  และให้ผู้เรียนบันทึกกิจกรรมลงในสมุดบันทึกกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 2 เวลา 30  นาทีครูตรวจงานที่ผู้เรียนทำใช้เวลา  20 นาที  ครูมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาเรื่องจัดทำแผนพัฒนาการผลิตและการบริการมาก่อนพบกลุ่มในสัปดาห์ต่อไป  
 วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง ครูสอนเรื่อ ความเป็นมา  หลักการ  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 
     ครูชวนผู้เรียนพูดคุยเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร  ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเรื่องโครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพร้อมกับพูดคุยเรื่องบทบาท  หน้าที่ในการปฏิบัติเป็นพลเมืองดี
     ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนเข้าสู่บทเรียนขั้นต่อไป
     ครูแจกใบความรู้เรื่อง  ความเป็นมา  หลักการ  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
     ครูให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้  พร้อมทั้งสรุปใจความสำคัญมาตามความเข้าใจของนักศึกษา
     ครูสุ่มตัวอย่างผู้เรียนออกมาแสดงความความคิดเห็นตามที่ตนเองสรุปไว้
ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อศึกษากรณีตัวอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา  และพฤษภาทมิฬว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรจากกรณีตัวอย่างที่ 2  กรณี
     ครูให้ผู้เรียนส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอความรู้จากการศึกษากรณีตัวอย่าง  พร้อมถกแถลงร่วมกัน
     ครูให้ผู้เรียนทำใบงาน  เรื่อง  ความเป็นมา  หลักการ  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
     ครูแจกใบความรู้  เรื่อง  โครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ
     ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม  แล้วให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกหัวหน้ากลุ่ม  รองหัวหน้ากลุ่ม  
และเลขานุการการ  จากนั้นให้หัวหน้ากลุ่มออกมาจับฉลากเพื่อเลือกหัวข้อของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องนำไปศึกษาค้นคว้าพร้อมยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญที่จำเป็นและการนำไปใช้สำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันดังนี้  ดังนี้ 
     หมวด 3  สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
     หมวด 4  หน้าที่ของชนชาวไทย
     หมวด 14  การปกครองส่วนท้องถิ่น
ครูให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจัดบอร์ดแสดงผลงานของแต่ละกลุ่มตามหัวข้อที่ได้ไปศึกษาแล้วนำผลงานมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูแจกใบความรู้ เรื่องสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน
ครูให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับ สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนจาก ใบงาน หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น อินเตอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นใบงานส่งครู
ครูให้ผู้เรียนนำผลการศึกษาค้นคว้ามานำเสนอในกลุ่มผู้เรียนให้เพื่อนฟังโดยการสุ่มตัวอย่าง พร้อมทั้งให้ผู้เรียนนำใบงานส่งครู ครูและผู้เรียนสรุปเนื้อหาร่วมกัน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  
 วิชาพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ครูสอนเรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาการตลาด 
     ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดสภาพปัญหา ความต้องการกำหนดทิศทางการตลาด เป้าหมายการตลาด และกลยุทธ์สู่เป้าหมาย และการวิเคราะห์กลยุทธ์ ตลอดจนวิเคราะห์ และทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาของการกำหนดทิศทางการตลาด การกำหนดเป้าหมายการตลาด การกำหนดกลยุทธ์สู่เป้าหมาย และการวิเคราะห์กลยุทธ์
     ครูและผู้เรียนร่วมกันวางแผน และกำหนดแนวทางในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง คิดหา เหตุผลเชิงประจักษ์ของตนเอง ในการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจในช่วงระยะเริ่มต้น สร้างตัว และทรงตัว ตกต่ำหรือสูงขึ้น จากผู้มีประสบการณ์ ผู้รู้ ภูมิปัญญา สื่อ
     ครูและผู้เรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปความรู้เบื้องต้นที่ได้ไปศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้มาจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้ศึกษาด้วยตนเองเพื่อมาตรวจสอบความถูกต้องในกระบวนการเรียนรู้ พร้อมสรุปจัดทำรายงานรวบรวมเป็นแฟ้มสะสมงาน
วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง  ครูสอนเรื่อง หน้าที่พลเมือง 
     ครูและผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์กรณีศึกษาการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน (ปี 40) ศึกษากระบวนการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญและการนำไปใช้ว่าถูกต้องหรือไม่ มีข้อขัดข้องอย่างไร จากนั้นได้ร่วมกันกำหนดและวางแผนการเรียนรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อไปแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง แล้วบันทึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง นำความรู้ที่ได้จากการไปแสวงหาความรู้มาสรุปบทเรียนร่วมกัน และหาแนวทางการประยุกต์ใช้ความรู้ดัง เช่นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนและการให้ความรู้ถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่น 
ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
     เนื้อวิชาเรียนแต่ละวิชา มีค่อนข้างมากทำให้การจัดการเรียนการสอน ไม่ครบถ้วนขาดเนื้อหาบางส่วนไป ทั้งนี้นักศึกษาไปค้นคว้าด้วยตนเอง ทำให้ความรู้ที่ได้ไปศึกษาไม่ครบเนื้อหา ความเข้าใจผิด ในบางเรื่องที่ไปค้นคว้า ซึ่งพบในการบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน สรุปเนื้อหาไม่ตรงประเด็นที่ศึกษา เป็นต้น

บันทึกประจำวัน วันที่ 26 ธ.ค.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 26 ธ.ค.58

        วันนี้ดิฉันได้เข้าไปดูนักศึกษาทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.)ของนักศึกษา กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว โครงการปลูกพืชผักสวนครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยกพช.จำนวน 20 ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผู้เข้าร่วมจำนวน 21 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 32 คน ซึ่งกิจกรรมในวันนี้นักศึกษาได้ช่วยกันขนดิน เตรียมกระถางปลูก และยางรถยนต์เก่าสำหรับใช้เป็นที่ปลูกผัก  และนักศึกษาเตรียมต้นกล้าพืชผัก และเมล็ดพันธุ์ มาจากบ้าน ร่วมกันปลูกผัก รดน้ำ 









         สำหรับนักศึกษาบางส่วนที่ไม่ได้มาทำกิจกรรมในวันนี้ ได้มอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรดน้ำต้นไม้ และปลูกผักเพิ่มเติมนอกเหนือจากวันนี้ จนเสร็จสิ้นโครงการฯ

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อบรมโครงการเชิงปฎิบัติการประเมินโครงการและการเขียนรายงานการประเมินผลโครงการ(วันที่ 25 ธ.ค.58)

อบรมโครงการเชิงปฎิบัติการประเมินโครงการและการเขียนรายงานการประเมินผลโครงการ
ระหว่าง วันที่ 25 ธันวาคม 2558
ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง

            เวลา 08.00 - 08.30 น. ข้าราชการ ครูกศน.ตำบล และบุคคลากรกศน.อำเภอเมืองลำปาง เริ่มลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมอย่างพร้อมเพรียง
            เปิดการอบรม โดยท่านดร.ผอ.กศน.อำเภอเมืองลำปาง นางณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการอบรมครั้งนี้ จากมอบหมายให้วิทยากรดำเนินการอบรม
            วิทยากร นางสาวสุมาลี  อริยสม บรรยายให้ความรู้ในเรื่องการเขียนโครงการและการประเมินโครงการ มีเนื้อหารายละเอียดดังนี้


             ความหมายของการวางแผน ความสำคัญของการวางแผน ประโยชน์ของการวางแผน  ประเภทของแผน ความหมายของโครงการ องค์ประกอบของโครงการ ลักษณะโครงการที่ดี หลักการเขียนโครงการ 
             การประเมินโครงการ
             ทำไมจึงต้องติดตามและประเมินโครงการ การวางแผนและการบริหารงานโครงการใดก็ตาม เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อช่วยในการกำหนดคุณลักษณะของผลปลายทาง และผลระหว่างทางที่พึงประสงค์ หลังจากได้ดำเนินงานไปแล้ว จุดมุ่งหมายจะช่วยกำหนดทิศทางของการดำเนินงานช่วยกำหนดวิธีการที่จะทำให้ได้รับผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนการติดตามและประเมินผลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยตัดสินคุณค่าของ
กระบวนการหรือวิธีการดำเนินงาน และการบรรลุผลสำเร็จของการดำเนินงาน
           ความหมายของการกำกับงาน การติดตามผล และการประเมิน ประโยชน์ของการประเมิน ประเภทของการประเมิน กระบวนการประเมินโครงการ  กรอบการประเมินโครงการ 
           จากนั้น วิทยากร มอบหมายให้ผู้เข้าอบรมทำใบงานที่ 1 กรอบแนวทางการประเมินโครงการ เสร็จแล้วให้นำเสนอใบงาน วิเคราะห์ร่วมกัน

ใบงานที่ 1

            เมื่อเสร็จสิ้นการทำใบงานที่ 1 วิทยากรให้ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล และมอบหมายให้ผู้เข้าอบรมทำใบงานที่ 2 
ใบงานที่ 2
          การเขียนรายงานการประเมิน เป้าหมายโครงการ คือ การนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้เพื่อการวินิจฉัย สั่งการ หรือตัดสินใจในการปรับปรุง และพัฒนาโครงการนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด นักประเมินจะต้องจัดทำรายงานการประเมินเพื่อนำเสนอข้อมูลให้ผู้บริหารได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ รายงานการประเมินสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ
          1. รายงานการประเมินฉบับสมบูรณ์ทั่วไปจะมีรายละเอียดที่ชัดเจน ครอบคลุม วัตถุประสงค์ ขอบเขตของการประเมิน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการประเมิน ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล สรุปผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ
          2. รายงานสรุปสำหรับผู้บริหารเป็นรายงานสรุปผลการประเมินที่สั้น กะทัดรัด ปกติมีความยาว 1-3 หน้า ให้สารสนเทศที่ใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารได้ ลักษณะของรายงานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ วัตถุประสงค์ของการประเมิน ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ
         ปิดการอบรมโครงการเชิงปฎิบัติการประเมินโครงการและการเขียนรายงานการประเมินผลโครงการ
โดยอาจารย์ยุรัยยา  อินทรวิจิตร
          สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในการอบรมครั้งนี้ ได้ความรู้ในเรื่องการเขียนโครงการและการประเมินโครงการ จากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดความเข้าใจทำให้ทราบถึงปัญหาการเขียนโครงการ รวมทั้งการใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์ ประเมินโครงการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ซึ่งทุกครั้งที่เขียนโครงการที่ผ่านมายังมีความเข้าใจยังไม่มากพอทำให้เขียนโครงการได้ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด 
            








วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 24 ธ.ค.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 24 ธ.ค.58
     
       วันนี้เข้าปฎิบัติงานในกศน.ตำบล โดยได้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
- ขนย้ายหนังสือแบบเรียนกศน.หลักสูตร51 ตรวจเช็คยอดหนังสือ ทำสมุดคุมสื่อหนังสือแบบเรียน
- พานักศึกษาไปขนยางรถยนต์เก่า เพื่อนำไป ทำเป็นที่ปลูกผัก กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต กพช. โครงการปลูกพืชผักสวนครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการในวันที่ 26 ธ.ค. 58


วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 23 ธ.ค.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 23 ธ.ค.58

           วันนี้ได้เข้ามาปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง ได้กรอกข้อมูลโครงการงานส่งเสริมการรู้หนังสือเพิ่มเติม จัดตั้งกลุ่มงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพิ่มเติมกลุ่มที่เหลือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 26 คน  ช่วยตรวจนับยอดหนังสือแบบเรียน กศน. หลักสูตร 51 


บันทึกประจำวัน วันที่ 22 ธ.ค.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 22 ธ.ค.58

             วันนี้ได้ปฎิบัติงาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โครงการ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายของผู้สูงอายุ จำนวน 5 ชั่วโมง ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุบ้านป่าเหียง หมู่ที่1  ตำบลบ่อแฮ้ว จำนวน 31 คน สถานที่ ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านป่าเหียง ในวันที่  25 มกราคม 2559โดยกรอกข้อมูลโครงการลงในระบบบริหารงาน กศน. ซึ่งส่งงานต่อไปยังหัวหน้างาน ฝ่ายพัสดุ เพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้องต่อไป หากโครงการยังไม่สมบูรณ์ หรือต้องปรับเปลี่ยนข้อมูล หัวหน้าจะส่งข้อมูลกลับ ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 21 ธ.ค. 58

บันทึกประจำวัน วันที่ 21 ธ.ค. 58

วันนี้ดิฉันได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  
         โดยได้ปฎิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย กรอกข้อมูลแบบรายงานผู้ไม่รู้หนังสือ ตำบลบ่อแฮ้ว มีจำนวน 5 คน กลุ่มเป้าหมายผู้ไม่รู้หนังสือ บ้านท่าล้อ หมู่ที่ 9  เริ่มดำเนินการวันที่ 24 ธ.ค. 58 สิ้นสุดวันที่ 28 พ.ค. 59 หลักสูตร จำนวน 200 ชั่วโมง และส่งโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว  กิจกรรม ปลูกพืชผักสวนครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง กพช.จำนวน 20 ชั่วโมง ดำเนินการระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 58 - 31 ม.ค. 59 
 

แผนปฎิบัติงานรายสัปดา์ วันที่ 21 - 27 ธ.ค. 58

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 21 - 27 ธ.ค.58

วันที่ 21 ธ.ค.58
     เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  
      - ส่งแบบรายงานผู้ไม่รู้หนังสือ และส่งโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

วันที่ 22 ธ.ค.58
     เข้าปฎิบัติงานใน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
     - กรอกข้อมูลโครงการงานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตลงในระบบฐานข้อมูลโครงการ
      
วันที่ 23 ธ.ค.58
     เข้าปฎิบัติงานใน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
       - กรอกข้อมูลโครงการงานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตลงในระบบฐานข้อมูลโครงการ
     
วันที่ 24 ธ.ค.58
      เข้าปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว
     - ประสานงานวิทยากรในการจัดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตร การพัฒนารูปแบบการตัดเย็บกระเป๋าผ้า 
     
วันที่ 25 ธ.ค.58
      เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง
      - เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการประเมินโครงการและการเขียนรายงานการประเมินผลโครงการ ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอเมืองลำปาง วิทยากร นางสาวสุมาลี  อริยสม

วันที่ 26 ธ.ค.58
   -วันหยุด 

วันที่ 27 ธ.ค.58
    -จัดการเรียนการสอนนักศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว ครั้งที่ 8

บันทึกการพบกลุ่ม ครั้งที่ 7 วันที่ 20 ธ.ค. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 7
  วันที่ 20 ธ.ค. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  
 วิชาพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง  ครูสอนเรื่อง ความหมาย ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาอาชีพ และการวิเคราะห์สภาพตำแหน่งธุรกิจ
     ครูอธิบายแนวทางในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่มอบหมาย
     ครูสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน
     ครูมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
            1.ความหมาย ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาอาชีพ
2.ความจำเป็นของการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ
3.การวิเคราะห์ตำแหน่งธุรกิจ
- ระยะเริ่มต้น
- ระยะสร้างตัว
- ระยะทรงตัว
- ระยะตกต่ำหรือสูงขึ้น
     
          การวิเคราะห์ธุรกิจตามศักยภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยกรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ศักยภาพของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่บนเส้นทางของเวลา


         ครูสรุปผลจากการนำเสนอและการชักถามของผู้เรียนเรื่องการพัฒนาอาชีพและความสำคัญของการพัฒนาอาชีพ มอบหมายงานบทเรียน เรื่องการจัดทำแผนการตลาด บทที่ 2 ในการพบกลุ่มครั้งต่อไป
         ครูให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าในเรื่องศักยภาพธุรกิจ  ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน   


 วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง ครูสอนเรื่อความเป็นมาของศาสนาในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย 
         ครูสร้างความคุ้นเคยกับผู้เรียนโดยการเปิดประเด็นเรื่องศาสนาที่นักเรียนส่วนใหญ่นับถือแล้วถามถึงความสำคัญและเหตุผลที่ต้องนับถือศาสนานั้นๆ
         ครูทำความเข้าใจกับวิชาพร้อมมาตรฐานและชี้แจงตัวชี้วัดของหน่วยการเรียนรู้
         ครูทักทายกล่าวนำและอธิบายการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของศาสนาในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย
         ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายถึงประวัติความเป็นมาของศาสนาที่คนไทยนับถือและศาสนาอื่นๆที่รู้จักในสังคม 

         ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนเข้าสู่บทเรียนขั้นต่อไป
         ครูและผู้เรียนวางแผนวิธีการเรียนรู้เนื้อหาเรื่องความเป็นมาและหลักธรรมของศาสนาในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย
         ครูแจกใบความรู้ เรื่อง  ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู
                     ใบความรู้ เรื่อง  วัฒนธรรม ประเพณีของไทยและเอเชีย
                     ใบความรู้ เรื่อง  หลักธรรมของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู
         ครูจัดทำฉลาก  แยกเป็นศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู  แล้วแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม  จากนั้นครูให้ตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญ  หลักคำสอน  ศาสนา  ของแต่ละศาสนาที่จับฉลากได้ 
         ครูกำหนดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีของไทยและเอเชีย  แล้วแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม จากนั้นครูให้ตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรม  ประเพณีของไทยและเอเชียที่จับฉลากได้ 
         ครูให้ผู้เรียนเขียนแผนภาพความคิดเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองได้รับมอบหมาย

         ครูให้ผู้เรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในเรื่องที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า


     ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  
 วิชาพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ครูสอนเรื่อง ศักยภาพทางธุรกิจ ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้เรื่องความหมาย ความสำคัญ และความจำเป็นของการพัฒนาอาชีพ ครูให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพทางธุรกิจในช่วงระยะเริ่มต้น สร้างตัว และเทรงตัว ตกต่ำหรือสูงขึ้น จากผู้มีประสบการณ์ ผู้รู้ภูมิปัญญา สื่อ เป็นต้น 
        ครูและผู้เรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปความรู้เบื้องต้นที่ได้ศึกษา ค้นคว้า บันทึกความรู้ลงในแฟ้มสะสมผลงาน


 วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง  ครูสอนเรื่อง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
         ครูอธิบายการกำเนิดศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ คริสต์ ฮินดู อิสลาม ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน
          จากนั้นให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งด้านความเจริญ และความเสื่อมของศาสนาต่างๆ จากสื่อต่างๆ โดยยกตัวอย่างมากลุ่มล่ะ 1 หัวข้อ ส่งตัวแทนออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน
          ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา  ทำแบบฝึกหัด จำนวน 5 ข้อ
ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
          ผู้เรียนยังขาดเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลในเนื้อหาวิชาที่ครูมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้ขาดประเด็นเนื้อหาที่สำคัญไป
     

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 19 ธ.ค.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 19 ธ.ค.58

วันหยุด

อบรมโครงการการพัฒนาบุคลากรการอบรมเชิงปฎิบัติการด้วยระบบสารสนเทศครบวงจร(18 ธ.ค.58)

อบรมโครงการการพัฒนาบุคลากรการอบรมเชิงปฎิบัติการด้วยระบบสารสนเทศครบวงจร
ระหว่าง วันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2558
ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง

         วันนี้ เป็นวันที่สองของการอบรมเชิงปฎิบัติการด้วยระบบสารสนเทศครบวงจร วิทยากรได้มอบหมายให้ผู้เข้าอบรม ทำโครงการในแผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ ในไตรมาสแรกและสอง เพื่อจะได้ใช้ระบบบริหารงานกศน.ได้จริง แล้วส่งงานผ่านไปยังหัวหน้ากลุ่มงานแต่ละงานได้ตรวจเช็คและตรวจสอบโครงการฯ หากโครงการยังไม่สมบูรณ์ก็จะได้ส่งข้อมูลกลับให้เจ้าของโครงการแก้ไข  

                              

        หลังจากครูกศน.ได้ทำโครงการของตำบลแล้วนั้น  วิทยากรได้ให้ออกนำเสนองานเพื่อให้ผู้เข้าอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน เมื่อพบปัญหาในการทำระบบบริหารงานกศน. ในส่วนของโครงการ

                               
         ช่วงสุดท้ายของการอบรม อาจารย์ยุรัยยา  อินทรวิจิตร ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความรู้สึก บอกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการอบรมของวันนี้

                               
         สำหรับดิฉัน สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ ดิฉันคิดว่าปัญหามีไว้ให้แก้ไข หากร่วมมือกันช่วยกันคิดช่วยกันแสดงความคิดเห็นปัญหาต่างๆ ก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป 

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อบรมโครงการการพัฒนาบุคลากรการอบรมเชิงปฎิบัติการด้วยระบบสารสนเทศครบวงจร(วันที่ 17 ธ.ค. 58)

อบรมโครงการการพัฒนาบุคลากรการอบรมเชิงปฎิบัติการด้วยระบบสารสนเทศครบวงจร
ระหว่าง วันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2558
ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง

                เวลา 08.00 - 08.30 น. ข้าราชการ ครูกศน.ตำบล และบุคลากรกศน.อำเภอเมืองลำปาง เริ่มลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมอย่างพร้อมเพรียงกัน
                                     

                เปิดการอบรม โดยท่านดร.ผอ.กศน.อำเภอเมืองลำปาง นางณราวัลย์   นันต๊ะภูมิ ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการอบรมครั้งนี้ และมอบหมายให้นายกฤษณะ    เจริญอรุณวัฒนา ซึ่งเป็นวิทยากรดำเนินการในการอบรม โดยให้ทุกคน ครูกศน.ตำบล และบุคลากรอำเภอเมืองลำปาง เข้าระบบฐานข้อมูลการจัดทำโครงการในเว็บไซด์ http://www.apmlpnfe.com/nfe โดย กศน.ตำบล แต่ละตำบลจะมี User และ Password วิทยากรให้ลองใช้ระบบและทำตามเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน เปิดเข้ามาในระบบจะเจอ ชื่อกศน.ตำบล ไตรมาศ 1 - 4 โดยให้คลิ๊กเข้าไป ที่เขียนโครงการใหม่ ซึ่งจะมีรายละเอียดให้เราเขียนโครงการเหมือนกับโครงการที่เราเคยจัดทำเป็นเอกสารเสนอให้กับผู้บริหารอนุมัติ ซึ่งประกอบไปด้วย ส่วนแรก ด้านบนขวา เป็นหมายเลขระบบ หมายเลขภายใน ลำดับที่จะ RUN โดยอัตโนมัติ ต่อมาจะเป็นกลุ่มงาน ซึ่งจะมี 1.กลุ่มงานอำนวยการ 2.กลุ่มจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3.กลุ่มภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ ให้เลือกกลุ่มงานที่สอดคล้องกับโครงการฯ ถัดลงมาจะเป็นชื่อโครงการ  จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  จำนวนหลักสูตร เป็นชั่วโมง  ระยะเวลา เป็นจำนวนวัน วันเริ่มต้นโครงการ และวันสิ้นสุดโครงการ 

                                    


             ส่วนที่สอง  เป็นส่วนของรายละเอียดโครงการ วิทยากรให้ลองกรอกข้อมูลตามโครงการของแต่ละตำบล เมื่อเสร็จแล้วให้กดยืนยัน ข้อมูลจะกลับมาด้านหน้า เพื่อให้ทำปะหน้าบันทึกข้อความขออนุมัติโครงการ ให้เรากรอกรายละเอียดลงไปแล้วกดยืนยัน ข้อมูลก็จะกลับไปด้านหน้า เพื่อให้เรากดส่งไปยังกลุ่มงานที่รับผิดชอบโครงการนั้นๆ 
             วิทยากรให้ทดลองทำ และให้กลุ่มงานที่รับผิดชอบได้ตรวจโครงการ หากโครงการไม่สมบูรณ์และมีข้อแก้ไข หัวหน้ากลุ่มงาน ก็จะไม่ผ่านโครงการ และส่งข้อมูลกลับให้ครูผู้รับผิดชอบ ได้กลับมาแก้ไขและส่งข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง หากขัอมูลโครงการสมบูรณ์ ฝ่านงานก็จะผ่านงานไปยังผอ.อนุมัติ 
ซึ่งในวันนี้ วิทยากรได้ถ่ายทอดในระบบไว้เพียงเท่านี้
             
                                     

 ผอ.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรม กล่าวความรู้สึก สิ่งที่ได้การเรียนรู้ในการอบรมครั้งนี้  ในส่วนของดิฉัน ได้เรียนรู้การใช้ระบบสารสนเทศ การกรอกข้อมูลโครงการ ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน ประหยัดทรัพยากร การใช้กระดาษในการทำเอกสาร ลดขั้นตอนในการทำงาน สุดท้ายสิ่งที่ได้เรียนรู้ คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้จัดทำระบบฐานข้อมูล (วิทยากร) กับผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล (ผู้เข้าอบรมทุกคน) เมื่อผู้ใช้ระบบเจอปัญหาในการเข้าใช้ ก็สามารถบอกผู้จัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อปรับฐานข้อมูลต่อไปได้

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 16 ธ.ค. 58

บันทึกประจำวัน วันที่ 16 ธ.ค. 58

           วันนี้ดิฉัน ได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  โดยได้ทำข้อมูลต่อ เพื่อใช้ในการอบรม
การเข้าร่วมอบรมตามโครงการอบรมระบบสารสนเทศครบวงจร ในวันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2558 และทดลองใช้โปรแกรม http://www.apmlpnfe.com/nfe 

                              

                             

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 15 ธ.ค. 58

บันทึกประจำวัน วันที่ 15 ธ.ค. 58

              วันนี้ ดิฉันได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว โดยได้เตรียมข้อมูลในการเข้าร่วมอบรมตามโครงการอบรมระบบสารสนเทศครบวงจร ในวันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2558  ณ ห้องประชุมอำเภอเมืองลำปาง ตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 
1. ชื่อโครงการแบบเต็ม 2. จำนวนชั่วโมงของโครงการที่ใช้ 3. วันเริ่มต้นโครงการ 4. วันสิ้นสุดโครงการ 5. วันที่จัดกิจกรรม ว่า จัดวันใดบ้าง 6. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน กี่คน 7. รายละเอียดของกลุ่มเป้าหมาย 8. งบประมาณที่ใช้ 9. สถานที่จัดกิจกรรม 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ

บางโครงการยังไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลในรายละเอียดวันเริ่มโครงการและสิ้นสุดโครงการเนื่องจากเป็นกิจกรรมไตรมาสที่ 3

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 14 ธ.ค. 58

บันทึกประจำวัน วันที่ 14 ธ.ค. 58

          วันนี้ดิฉันได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  โดยได้จัดตั้งกลุ่มงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักศึกษา กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว จำนวน 1 กลุ่ม 40 คน แยกเป็นระดับประถมศึกษา จำนวน 2 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 38 คน และรายงานแบบสภาพการใช้สารยาเสพติดในสถานศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 6 วันที่ 13 ธ.ค. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 6
  วันที่ 13 ธ.ค. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  
 วิชาศิลปศึกษา  ครูสอนเรื่อง นาฎศิลป์ไทย ครูและผู้เรียนร่วมกันสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็นมาและวิวัฒนาการของการแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทต่าง ๆ   รูปแบบ/องค์ประกอบและวิธีการแสดงนาฏศิลป์ไทยในแต่ละภาค การแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย  ประโยชน์และวิธีเลือกชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย  ท่ารำและการสื่อความหมายในนาฏศิลป์ไทย   การใช้ท่าทางสื่อความหมาย รวมทั้งโอกาสที่ใช้แสดง ประโยชน์และคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยและภาษาท่าที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม  ประวัติ ความเป็นมา วัฒนากา ความหมายของเนื้อเพลงที่ใช้และการแต่งกายประกอบการแสดงรำวงมาตรฐาน   การนำท่ารำวงมาตรฐานไปประยุกต์ใช้ประกอบกับเพลงอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิต  ประจำวันโดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม   การอนุรักษ์ การละเล่น ตามวัฒนธรรมประเพณี ของภูมิปัญญาทางนาฏศิลป์ไทยของภาคต่างๆ
        จากนั้นครูให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องนาฏศิลป์ไทย ศึกษาจากสื่อวีดีทัศน์เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเพิ่มเติม ผู้เรียนซักถาม/แสดงความคิดเห็น สรุปร่วมกัน และทำใบงาน จำนวน 5 ข้อ 
 วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง สร้างเครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
          ครูชวนคิดชวนคุยศึกษาเรื่องส่งเสริมเผยแพร่ผลงานการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบุคคล  ชุมชน ที่ประสบความสำเร็จ  เป็นการชี้นำให้เห็นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำได้จริงและประสบความสำเร็จกับประชาชนทุกคน  ทุกอาชีพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้  เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย  และเป็นกรณีตัวอย่างในการศึกษาเรียนรู้ มีทั้งของบุคคลและชุมชนที่ประสบความสำเร็จที่ควรนำมาเผยแพร่
เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษสาบ้านท่าล้อ  กลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่าล้อ กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทยบ้านดงสันเงิน เป็นต้น 
จากนั้นครูแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน  เพื่อจัดกิจกรรม “พอเพียง...อยู่หนใด” โดยแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับฉลาก  เลือกหัวข้อที่ครูกำหนดให้ ดังนี้
1. กระเป๋าสานพลาสติกจากกลุ่มแม่บ้าน(OTOP)VS กระเป๋าแบร์ดเนมยี่ห้อดัง
2. กล้วยทอดสามรส VS มันฝรั่งทอด จากห้างสรรพสินค้า
3. โทรศัพท์มือถือ ซัมซุง รุ่นอาม่า VS โทรศัพท์มือถือ ซัมซุงรุ่น กาแล็คซี
และให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิดและวิเคราะห์เรื่องราวจากหัวข้อที่ได้รับว่า สินค้าแต่ละ
ชนิดมีข้อดี และข้อเสียอย่างไร ลงในกระดาษบรุ๊ฟ ในรูปแบบแผนผังความคิด (mind map)
สรุปร่วมกัน และทำแบบฝึกหัด จำนวน 5 ข้อ 
                             
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง สถานการณ์ของประเทศกับความพอเพียง 
ครูสนทนากับผู้เรียนถึงวิธีการศึกษาด้วยตนเองและให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าในหัวข้อต่อไปนี้
      -ปัญหาค่าครองชีพ
      -ปัญหาความยากจน

      -ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
ครูบอกถึงแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาหาข้อมูล
ครูมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปทำการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดและจดบันทึก
วิชา ศิลปศึกษา    ครูสอน เรื่อง ดนตรีสากล
          ครูกับผู้เรียนสนทนาถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านดนตรีที่มีในท้องถิ่น ครูให้ผู้เรียนทำกิจกรรมนันทนาการ โดยการตบมือเป็นจังหวะ ทบทวน  เนื้อหาที่เรียนมาในครั้งที่แล้ว ในเรื่อง ทัศนศิลป์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูซักถามผู้เรียนในเรื่อง ดนตรีสากล   ดนตรีสากลประเภทต่างๆ และคุณค่าความไพเราะของเพลงสากล โดยการสุ่มถาม และครูอธิบายเพิ่มเติม
ครูและผู้เรียนสรุปเนื้อหาสาระสำคัญของเรื่อง และให้ผู้เรียนจดบันทึก  ให้นักศึกษาทำใบงาน จำนวน 5 ข้อ
                              
ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
        - วิชา ศิลปศึกษา ยังขาดสื่อที่เป็นเครื่องดนตรี ที่สามารถสัมผัสได้จริง ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนยังอยู่ในที่จำกัด ครูได้แก้ปัญหา โดยให้ดูจากภาพ และสื่อทาง CD และอินเตอร์เน็ต