วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 6 วันที่ 13 ธ.ค. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 6
  วันที่ 13 ธ.ค. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  
 วิชาศิลปศึกษา  ครูสอนเรื่อง นาฎศิลป์ไทย ครูและผู้เรียนร่วมกันสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็นมาและวิวัฒนาการของการแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทต่าง ๆ   รูปแบบ/องค์ประกอบและวิธีการแสดงนาฏศิลป์ไทยในแต่ละภาค การแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย  ประโยชน์และวิธีเลือกชมการแสดงนาฏศิลป์ไทย  ท่ารำและการสื่อความหมายในนาฏศิลป์ไทย   การใช้ท่าทางสื่อความหมาย รวมทั้งโอกาสที่ใช้แสดง ประโยชน์และคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยและภาษาท่าที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม  ประวัติ ความเป็นมา วัฒนากา ความหมายของเนื้อเพลงที่ใช้และการแต่งกายประกอบการแสดงรำวงมาตรฐาน   การนำท่ารำวงมาตรฐานไปประยุกต์ใช้ประกอบกับเพลงอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิต  ประจำวันโดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม   การอนุรักษ์ การละเล่น ตามวัฒนธรรมประเพณี ของภูมิปัญญาทางนาฏศิลป์ไทยของภาคต่างๆ
        จากนั้นครูให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องนาฏศิลป์ไทย ศึกษาจากสื่อวีดีทัศน์เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเพิ่มเติม ผู้เรียนซักถาม/แสดงความคิดเห็น สรุปร่วมกัน และทำใบงาน จำนวน 5 ข้อ 
 วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง สร้างเครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
          ครูชวนคิดชวนคุยศึกษาเรื่องส่งเสริมเผยแพร่ผลงานการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบุคคล  ชุมชน ที่ประสบความสำเร็จ  เป็นการชี้นำให้เห็นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำได้จริงและประสบความสำเร็จกับประชาชนทุกคน  ทุกอาชีพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้  เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย  และเป็นกรณีตัวอย่างในการศึกษาเรียนรู้ มีทั้งของบุคคลและชุมชนที่ประสบความสำเร็จที่ควรนำมาเผยแพร่
เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษสาบ้านท่าล้อ  กลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่าล้อ กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทยบ้านดงสันเงิน เป็นต้น 
จากนั้นครูแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน  เพื่อจัดกิจกรรม “พอเพียง...อยู่หนใด” โดยแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับฉลาก  เลือกหัวข้อที่ครูกำหนดให้ ดังนี้
1. กระเป๋าสานพลาสติกจากกลุ่มแม่บ้าน(OTOP)VS กระเป๋าแบร์ดเนมยี่ห้อดัง
2. กล้วยทอดสามรส VS มันฝรั่งทอด จากห้างสรรพสินค้า
3. โทรศัพท์มือถือ ซัมซุง รุ่นอาม่า VS โทรศัพท์มือถือ ซัมซุงรุ่น กาแล็คซี
และให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิดและวิเคราะห์เรื่องราวจากหัวข้อที่ได้รับว่า สินค้าแต่ละ
ชนิดมีข้อดี และข้อเสียอย่างไร ลงในกระดาษบรุ๊ฟ ในรูปแบบแผนผังความคิด (mind map)
สรุปร่วมกัน และทำแบบฝึกหัด จำนวน 5 ข้อ 
                             
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง สถานการณ์ของประเทศกับความพอเพียง 
ครูสนทนากับผู้เรียนถึงวิธีการศึกษาด้วยตนเองและให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าในหัวข้อต่อไปนี้
      -ปัญหาค่าครองชีพ
      -ปัญหาความยากจน

      -ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
ครูบอกถึงแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาหาข้อมูล
ครูมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปทำการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดและจดบันทึก
วิชา ศิลปศึกษา    ครูสอน เรื่อง ดนตรีสากล
          ครูกับผู้เรียนสนทนาถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านดนตรีที่มีในท้องถิ่น ครูให้ผู้เรียนทำกิจกรรมนันทนาการ โดยการตบมือเป็นจังหวะ ทบทวน  เนื้อหาที่เรียนมาในครั้งที่แล้ว ในเรื่อง ทัศนศิลป์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูซักถามผู้เรียนในเรื่อง ดนตรีสากล   ดนตรีสากลประเภทต่างๆ และคุณค่าความไพเราะของเพลงสากล โดยการสุ่มถาม และครูอธิบายเพิ่มเติม
ครูและผู้เรียนสรุปเนื้อหาสาระสำคัญของเรื่อง และให้ผู้เรียนจดบันทึก  ให้นักศึกษาทำใบงาน จำนวน 5 ข้อ
                              
ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
        - วิชา ศิลปศึกษา ยังขาดสื่อที่เป็นเครื่องดนตรี ที่สามารถสัมผัสได้จริง ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนยังอยู่ในที่จำกัด ครูได้แก้ปัญหา โดยให้ดูจากภาพ และสื่อทาง CD และอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น