วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 5 วันที่ 6 ธ.ค. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 5
  วันที่ 6 ธ.ค. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  
ศิลปศึกษา  เรื่อง ทัศนศิลป์  ครูและผู้เรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของทัศนศิลป์ที่ใช้ของจุด เส้น สี แสง เงา รูปร่างและรูปทรง เพื่อความซาบซึ้งในงานทัศนศิลป์ของไทย   ความหมาย ความเป็นมาของทัศนศิลป์ไทยด้านจิตรกรรม   ประติมากรรม  สถาปัตยกรรม  ภาพพิมพ์ ความงามของทัศนศิลป์ไทยที่เกิดจากความงามตามธรรมชาติ   วิธีการนำความงามของธรรมชาติมาสร้างสรรค์งาน  ความคิดสร้างสรรค์เหมาะสม และความพอดีของการนำวัตถุหรือวัสดุสิ่งของต่าง ๆ มาประดับตกแต่งร่างกายและที่อยู่อาศัยหรือตกแต่งสถานที่ สิ่งแวดล้อมทั่วๆ ไป และคุณค่าของความซาบซึ้ง ความดีงามของวัฒนธรรม ประเพณี และความสวยงามของวัด โบสถ์ วิหารยุคต่างๆ ของชาติ จากนั้นให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ และแบ่งกลุ่มผู้เรียน ตามหัวข้อดังนี้
             1. เทคนิควิธีการวาด ปั้น
             2. วัสดุอุปกรณ์ในการปั้น
             3. การสื่อความหมายในการปั้น
จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอ  และทำใบงาน จำนวน 5 ข้อ สรุปร่วมกัน


 วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อ การวางแผนประกอบอาชีพแบบพอเพียง
  ครูร่วมกับผู้เรียนพูดคุยในเรื่องการประกอบอาชีพต่างๆทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริมที่มีอยู่ในชุมชนว่ามีอะไรบ้างสุ่มตัวอย่างให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์การประกอบอาชีพของตัวเองที่คิดว่าเขาประสบความสำเร็จและอาชีพที่เขาทำแล้วขาดทุนหรือไม่ประสบผลสำเร็จ(30 นาที)
 ครูและผู้เรียนสรุปเรื่อง การประกอบอาชีพในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งเป็น 5 อาชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม, ค้าขาย, รับจ้างรับราชการ, ธุรกิจส่วนตัว ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม จากนั้นให้แต่ละกลุ่มเขียนคำตอบตามคำถามที่ครูกำหนดให้ ดังนี้
             2.1 กลุ่มอาชีพของผู้เรียนมีประโยชน์และมีความสำคัญอย่างไร
             2.2 กลุ่มอาชีพของผู้เรียนมีคุณธรรมในการประกอบอาชีพอย่างไร
            2.3 ปัญหาของการประกอบอาชีพนั้นมีอย่างไร     
ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปคุณธรรมในการประกอบอาชีพของแต่ละกลุ่ม ว่าสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไร ครูให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องคุณธรรม 11 ประการ คือขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์  มีวินัย  สะอาด  สามัคคี  มีน้ำใจ ประชาธิปไตย กตัญญู เศรษฐกิจพอเพียง แล้วให้จัดกลุ่มว่าแต่ละอาชีพอยู่ในคุณธรรมข้อใด นำมาวางแผนในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม



ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อ การแก้ปัญหาชุมชน ครูสนทนากับผู้เรียนถึงวิธีการศึกษาด้วยตนเองและให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1.ปัญหาที่พบในชุมชน ในหัวข้อ (เลือก 1 ปัญหา)
- ปัญหาด้านชุมชนสังคม
- ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
-ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
2.การแก้ปัญหา
3.การพัฒนาชุมชน
- ครูบอกถึงแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาหาข้อมูล
- ครูมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปทำการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดและจดบันทึก

                             

วิชา ศิลปศึกษา     ครูสอน เรื่อง ทัศนศิลป์
            ครูสนทนากับนักศึกษาเรื่องสถานที่สำคัญในท้องถิ่น ของตนเอง  เช่น วัด มัสยิด โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ  
            ครูอธิบาย ความสำคัญ ความเป็นมาของเนื้อหา ทัศนศิลป์ และการวิพากษ์วิจารณ์งานทัศนศิลป์แบ่งกลุ่มผู้เรียน ออกเป็นกลุ่มย่อย  กลุ่มละ 4 – 5 คน 4 กลุ่ม ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ครูกำหนดให้
จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงานที่ศึกษาค้นคว้าให้กลุ่มอื่นฟัง
            ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระสำคัญของเรื่องและจดบันทึก ทำใบงาน จำนวน 5 ข้อ

ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
        - การแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ศึกษาค้นคว้าทำงานกลุ่มนั้น ปัญหาที่พบอย่างชัดเจน คือนักศึกษาผู้ที่จะออกนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นคนเดิมซ้ำกันทุกครั้ง นักศึกษาที่ไม่ออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน จึงไม่ได้ฝึกที่จะแสดงออก การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น