วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการพบกลุ่ม ครั้งที่ 7 วันที่ 20 ธ.ค. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 7
  วันที่ 20 ธ.ค. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 28 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  
 วิชาพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง  ครูสอนเรื่อง ความหมาย ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาอาชีพ และการวิเคราะห์สภาพตำแหน่งธุรกิจ
     ครูอธิบายแนวทางในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่มอบหมาย
     ครูสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน
     ครูมอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
            1.ความหมาย ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาอาชีพ
2.ความจำเป็นของการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ
3.การวิเคราะห์ตำแหน่งธุรกิจ
- ระยะเริ่มต้น
- ระยะสร้างตัว
- ระยะทรงตัว
- ระยะตกต่ำหรือสูงขึ้น
     
          การวิเคราะห์ธุรกิจตามศักยภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยกรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ศักยภาพของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่บนเส้นทางของเวลา


         ครูสรุปผลจากการนำเสนอและการชักถามของผู้เรียนเรื่องการพัฒนาอาชีพและความสำคัญของการพัฒนาอาชีพ มอบหมายงานบทเรียน เรื่องการจัดทำแผนการตลาด บทที่ 2 ในการพบกลุ่มครั้งต่อไป
         ครูให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าในเรื่องศักยภาพธุรกิจ  ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน   


 วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง ครูสอนเรื่อความเป็นมาของศาสนาในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย 
         ครูสร้างความคุ้นเคยกับผู้เรียนโดยการเปิดประเด็นเรื่องศาสนาที่นักเรียนส่วนใหญ่นับถือแล้วถามถึงความสำคัญและเหตุผลที่ต้องนับถือศาสนานั้นๆ
         ครูทำความเข้าใจกับวิชาพร้อมมาตรฐานและชี้แจงตัวชี้วัดของหน่วยการเรียนรู้
         ครูทักทายกล่าวนำและอธิบายการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของศาสนาในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย
         ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายถึงประวัติความเป็นมาของศาสนาที่คนไทยนับถือและศาสนาอื่นๆที่รู้จักในสังคม 

         ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนเข้าสู่บทเรียนขั้นต่อไป
         ครูและผู้เรียนวางแผนวิธีการเรียนรู้เนื้อหาเรื่องความเป็นมาและหลักธรรมของศาสนาในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย
         ครูแจกใบความรู้ เรื่อง  ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู
                     ใบความรู้ เรื่อง  วัฒนธรรม ประเพณีของไทยและเอเชีย
                     ใบความรู้ เรื่อง  หลักธรรมของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู
         ครูจัดทำฉลาก  แยกเป็นศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู  แล้วแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม  จากนั้นครูให้ตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญ  หลักคำสอน  ศาสนา  ของแต่ละศาสนาที่จับฉลากได้ 
         ครูกำหนดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีของไทยและเอเชีย  แล้วแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม จากนั้นครูให้ตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรม  ประเพณีของไทยและเอเชียที่จับฉลากได้ 
         ครูให้ผู้เรียนเขียนแผนภาพความคิดเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองได้รับมอบหมาย

         ครูให้ผู้เรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในเรื่องที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า


     ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  
 วิชาพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ครูสอนเรื่อง ศักยภาพทางธุรกิจ ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดสภาพปัญหาความต้องการในการเรียนรู้เรื่องความหมาย ความสำคัญ และความจำเป็นของการพัฒนาอาชีพ ครูให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพทางธุรกิจในช่วงระยะเริ่มต้น สร้างตัว และเทรงตัว ตกต่ำหรือสูงขึ้น จากผู้มีประสบการณ์ ผู้รู้ภูมิปัญญา สื่อ เป็นต้น 
        ครูและผู้เรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปความรู้เบื้องต้นที่ได้ศึกษา ค้นคว้า บันทึกความรู้ลงในแฟ้มสะสมผลงาน


 วิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง  ครูสอนเรื่อง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
         ครูอธิบายการกำเนิดศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ คริสต์ ฮินดู อิสลาม ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน
          จากนั้นให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งด้านความเจริญ และความเสื่อมของศาสนาต่างๆ จากสื่อต่างๆ โดยยกตัวอย่างมากลุ่มล่ะ 1 หัวข้อ ส่งตัวแทนออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน
          ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา  ทำแบบฝึกหัด จำนวน 5 ข้อ
ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
          ผู้เรียนยังขาดเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลในเนื้อหาวิชาที่ครูมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้ขาดประเด็นเนื้อหาที่สำคัญไป
     

1 ความคิดเห็น:

  1. ให้นำปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนมาจัดทำวิจัยชั้นเรียนด้วยนะคะ
    บันทึการพบกลุ่มได้ดีมากค่ะ เป็นตัวอย่างที่ดี

    ตอบลบ