วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประชุมรับฟังและชมรายการ ETV. โดยท่านสุรพงษ์ จำจด (วันที่ 30 พ.ย. 58)

รับฟังและชมรายการ ETV.
โดยท่านเลขาธิการ กศน. เรื่อง ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน 2559 
วันที่ 30 พ.ย. 58
ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง

ท่านเลขาธิการกศน. นายสุรพงษ์  จำจด ได้ชี้แจงยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน 2559
            ให้ใช้กศน.ตำบล เป็นฐานในการทำงาน นำปัญหาชุมชน สภาพปัญหาสังคมเลื่อมล้ำ  คุณภาพชีวิตต่ำ มาจัดการศึกษา โดยการยกระดับการศึกษาของคนไทยให้สูงขึ้น ให้คนไทยรักการอ่าน พอเพียง  คิดเป็น มีจิตสาธารณะ แสวงหาความรู้ โดยงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การใช้หลักปรัชญา คิดเป็น ในการทำงาน รู้จักการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์ รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ตัดสินใจ แล้วนำมาปฎิบัติ  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หัวใจต้องการให้คนรู้จักการใช้ชีวิตพึ่งตัวเอง โดยหลักการใช้ปัจจัยสี่ การใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูล
            การเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 2 ส่วน
1.การศึกษานอกระบบ แบ่งออกเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง
           การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการยกระดับการศึกษาให้กับประชาชน ส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือ ระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย ปวช. เป็นการเรียนรู้ด้วยการพบกลุ่ม ทางไกล ตนเอง เทียบระดับ
          การศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ พัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคมและชุมชน  การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เช่น ภูมิปัญญา บวก เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง 1.กลุ่มสนใจ (หลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง)  2.หลักสูตรระยะสั้น (ชั้นเรียนวิชาชีพระยะสั้น 30 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่เกิน 100 ชั่วโมง) 3.ฝึกอบรม (รอก่อน)
2.การศึกษาตามอัธยาศัย  (ไม่มีหลักสูตร)

          การดำเนินงานตามกลไกแต่ละระดับ
ระดับครอบครัว    โดยการจะไปขอความร่วมมือในการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่มีความสำเร็จของแต่ละ                   ครอบครัว ให้แสวงหาและขอความร่วมมือและจัดตั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้
ระดับหมู่บ้าน  ศูนย์การเรียนชุมชน จะเป็นแหล่งที่
ระดับตำบล  กศน.ตำบล  เป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล
ระดับอำเภอ   กศน.อำเภอ ศูนย์วิทย์ฯ  ศูนย์ฝึกฯ
ระดับจังหวัด   สถาบันกศน.ภาค สนง.กศน.จังหวัด
สำนัก  กลุ่ม ศูนย์ส่วนกลาง
เป็นกลไก เชื่อมและประสานในการทำงาน
กลไกที่ 2  การบริหารจัดการ PDCA
           การวางแผน (P) ฐานข้อมูลระดับจุลภาค มี 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน  ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
และแผนและผลการปฎิบัติการประจำปี
           การลงมือปฎิบัติการ (D)  การมีส่วนร่วม หรือ ธรรมาธิบาล คำนึงถึงความคุ้มค่าของการทำงาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ กฎหมายระเบียบ คุณธรรม  ถูกขั้นตอน เช่น การทำงานการศึกษาต่อเนื่อง ต้องมีหลักสูตร
           การตรวจสอบติดตามและประเมินผล  (C)   โดยจะใช้ตัวชี้วัดในการประเมินของครูกศน.ตำบล พนักงานราชการ ครูอาสาสมัครฯ ครูปวช. จะใช้ตัวชี้วัดของแต่ละบทบาทหน้าที่ไม่เหมือนกัน  ยกตัวอย่างตัวชี้วัด สามารถทำงานได้ตามแผนงานบรรลุตามเป้าหมาย  50 เชิงปริมาณ 50 เชิงคุณภาพ
          พัฒนาและปรับปรุง (A)     เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนา จะได้ผลที่สำเร็จและตัวที่เป็นอุปสรรค นำไปพัฒนาและปรับปรุงในครั้งต่อไป



พบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 4 วันที่ 29 พ.ย. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 4
  วันที่ 29 พ.ย. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 25 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  เศษส่วน ครูนำเข้าสู่บทเรียน ดังต่อไปนี้  1. ประเด็นชวนคิด วันนี้ผู้เรียนมีเงินอยู่  100 บาท  ผู้เรียนจะเอาเงินไปซื้ออะไรบ้าง
(อย่างน้อย  รายการๆละเท่าไร)  สุ่มถามทีละคน พร้อมถามเหตุผลด้วยว่า ทำไหมต้องใช้แบบนั้น 
 2. ร่วมกันสรุปประเด็นว่า โดยสรุปแล้วห้องนี้จะใช้เงิน 100 บาทเพื่อรายการอะไรบ้าง
หลังจากนั้นจัดอันดับรายการการซื้อมากไปหาน้อย  และคัดเฉพาะลำดับ 1 - 3 จากนั้นให้ผู้เรียนประเมินใหม่  หากมี รายการผู้เรียนซื้อแต่ละรายการเท่าไร 
 3. ให้ผู้เรียนแต่ละรายวาดรูปวงกลมแล้วแบ่งเป็นตามส่วนตามสัดส่วนรายการการซื้อทั้ง 3 รายการ 
     ครูอธิบายความหมายของเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วน บนกระดานให้ผู้เรียนร่วมกันทำความเข้าใจ แล้วลองทำแบบฝึกหัด จำนวน 10 ข้อ ร่วมกันเฉลย ครูสรุปอีกครั้งหนึ่ง

วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง ชุมชนพอเพียง   ครูเข้าสู่บทเรียนด้วยการใช้ประเด็น/คำถามกระตุ้นผู้เรียนเพื่อทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ดังนี้  
   -  สิ่งที่ทำแล้วเกิดความภาคภูมิใจ  คนละ 1 เรื่อง   เพราะเหตุใด
   -  สิ่งที่ผู้เรียนได้ทำไปนั้น  ส่งผลต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร
   -  ผู้เรียนและครูร่วมกันสรุปตามประเด็นที่สนทนา
   -  ครูเชื่อมโยงประเด็นกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ตามบริบทของตนเอง ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม ค้นคว้าเรื่อง  ดังนี้  
   1. ความหมาย ความสำคัญการบริหารจัดการชุมชน
   2. การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
   3. กระบวนการ เทคนิคการบริหารจัดการชุมชน
จากนั้นให้ตัวแทนออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุป และทำแบบทดสอบจำนวน 5 ข้อ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง เรื่อง เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ครูและผู้เรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการรู้
  - จำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะแตกต่างกันอย่างไร
  - จำนวนตรรกยะคือจำนวนหรือตัวเลขใด
  - จำนวนอตรรกยะคือจำนวนหรือตัวเลขใด- ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังเรียน และใบความรู้ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
  กลุ่มที่ 1 อธิบายความหมายและยกตัวอย่างจำนวนตรรกยะ มา 5 ตัวอย่าง
  กลุ่มที่ 2 อธิบายความหมายและยกตัวอย่างจำนวนอตรรกยะ มา 5 ตัวอย่าง
-ให้ผู้เรียนหาข้อมูลตัวอย่างเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเต็มบวก เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก
-ให้ผู้เรียนหาข้อมูลตัวอย่างยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเต็มลบ เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก
 ครูอธิบายเพิ่มเติม จากนั้นทดสอบความเข้าใจครูให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดจำนวน 10 ข้อ
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง ชุมชนพอเพียง  ครูสนทนากับผู้เรียนถึงวิธีการศึกษาด้วยตนเองและให้ผู้เรียนไปค้นคว้าในหัวข้อ
-  การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดในชุมชนและการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาคนว่างงาน  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ครูบอกถึงแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาหาข้อมูล ครูมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดและจดบันทึก  สรุปผลการศึกษาค้นค้าและจัดทำเป็นรายงานส่งตามกำหนด และสรุปร่วมกัน


ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
        - การแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ศึกษาค้นคว้าทำงานกลุ่มนั้น ปัญหาที่พบอย่างชัดเจน คือนักศึกษาผู้ที่จะออกนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นคนเดิมซ้ำกันทุกครั้ง นักศึกษาที่ไม่ออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน จึงไม่ได้ฝึกที่จะแสดงออก การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 




              

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 27 พ.ย.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 27 พ.ย.58

เข้าปฎิบัติงานใน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
    - เตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 4

เข้าปฎิบัติงาน ในกศน.อำเภอเมืองลำปาง
    - เพิ่มข้อมูลในแผนการปฎิบัติการประจำปี 2559 ในฐานข้อมูลการเพื่อการบริหารจัดการ งานโครงการตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น  ค่ายค่านิยมหลัก 12 ประการ
    -เก็บแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดนิทรรศการในการจัดงานประเพณี "งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก" ประจำปี 2558 

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 26 พ.ย.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 26 พ.ย.58

เข้าปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว
     - ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านดงสันเงิน นางเพ็ยจิตร บุญเป็ง เรื่องกลุ่มอาชีพ การพัฒนารูปแบบการตัดเย็บกระเป๋าผ้า ฝากใบสมัครผู้เรียนวิชาชีพ และให้ประสานนัดกลุ่มอาชีพ เพื่อตกลงวันและเวลาเรียน 
     - ประสานกับผู้ดูแลบ้านหนังสือชุมชน ขอข้อมูล รูปถ่าย ในการนำมาบันทึกในระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ



วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 25 พ.ย.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 25 พ.ย.58
วันนี้ได้เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง
     - โดยได้บันทึกข้อมูลระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ในส่วนของข้อมูลกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว ข้อมูลบุคลากร ครูกศน.ตำบล และข้อมูลคณะกรรมการกศน.ตำบล

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 24 พ.ย. 58

บันทึกประจำวัน วันที่ 24 พ.ย. 58

วันนี้เข้าปฎิบัติงานในกศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
     -บันทึกข้อมูลระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ในส่วนของแผน/คำรับรองการปฎิบัติราชการ จำนวน 36 รายการ ได้แก่ งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของครูกศน.ตำบล จำนวน 4 รายการ ระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนปลาย(เทียบระดับ) ของครูผู้สอนคนพิการ จำนวน 3 รายการ ระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
งานผู้ไม่รู้หนังสือ จำนวน 1 รายการ  งานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จำนวน 3 รายการ และครูผู้สอนคนพิการ จำนวน 1 รายการ งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 2 รายการ และครูผู้สอนคนพิการ จำนวน 1 รายการ งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 2 รายการ งานหมู่บ้านการศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 รายการ  งานการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 7 รายการ ของครูผู้สอนคนพิการ 1 รายการ โครงการตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น จำนวน 7 รายการ ของครูผู้สอนคนพิการ 1 รายการ 

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 23 พ.ย.58


         วันนี้ดิฉันได้เข้ามาปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  เนื่องจากได้รับแจ้งข่าวสารจากทางไลน์ เพื่อให้เข้ามารับชม รายการ ETV. โดยการชี้แจงจากท่านเลขาธิการ กศน. ท่านสุรพงษ์  จำจด

โดยได้สรุปเนื้อหาในการรับชมซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                     การประชุมมอบนโยบายการดำเนินงานสู่การนำไปปฏิบัติ โดยการชี้แจงจากท่านเลขาธิการกศน. นายสุรพงษ์ จำจด 
                     กรอบคิดการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยใช้กศน.ตำบลเป็นฐาน
                     เป้าหมายระดับชาติ คือสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                    งบประมาณ  หมวดอุดหนุน  เงินเดือน หมวดต่างๆ มาแล้ว  ซึ่งจะนำเอานโยบายของรัฐบาลสู่กรอบแผนเป็นหลักในการปฏิบัติงาน  การชี้แจงแผนปี 59 มี 2 แบบ
                     แบบที่ 1  ตัวกรอบงานในเชิงปริมาณ งานปกติมีอะไรบ้าง
                     แบบที่ 2 โครงการที่สำคัญต้องทำร่วมกัน
  และจะถูกรวบเป็นปฏิทินแผนการปฏิบัติงานประจำปี นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกะทยวงศึกษาธิการ (พลเอกดาวพงษ์  รัตนสุวรรณ)  ที่เกี่่ยวกับสำนักงานกศน. การแปลงพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงานโครงการ   การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร  การแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้  การแก้ไขปัญหาการทุจริต จัดโครงการติวเข้มเติมเต็มความรู้


 จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้กศน.ตำบลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมประสานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

                                     

                    การศึกษาพื้นฐาน  เป้าหมาย ยกระดับการศึกษาของคน  โดยผ่านกระบวยการเรียนรู้ที่มีอยู่เช่น มาเรียนเอาตรง  แยกเป็นเรียนตรงๆ เช่นพบกลุ่ม ทางไกล โดยสื่อบุคคล  สื่อแบบเรียน สื่อที่ดีที่สุดคือสื่อที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี  หรือ ETV  ต้องใช้คำถามประเด็นปลายเปิดที่ครูต้องตั้งประเด็นปลายเปิด  สามารถอธิบายได้อย่างกว้างขวาง สภาพที่นักศึกษากศนงเผชิญอยู่   ศูนย์เทคโน ต้องเอาเนื้อหาที่ต้องการไปสร้างเป็นภาพ   การศึกษาต่อเนื่อง  ให้คนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต  เป้าหมายมี 4 เรื่อง

                     1.อาชีพพื้นฐาน  ช่างในบ้านมีอะไรบ้างสอนในนั้นแหละ เช่น แอร์ ไฟฟ้า  การซ่อมสามารถเป็นอาชีพได้เช่นกัน

                     2. ต่อยอดอาชีพเดิม  เช่น พิษณุโลก  กล้วยตาก เขามีการต่อยอด
                     3. ทักษะชีวิต  เช่น ความสามารถในการตัดสินใจ
                     4. พัฒนาสังคมและชุมชน  สร้างให้คนเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

                     5. เทคโนโลยีที่เหมาะสม  ต้องการให้คนเรียนรุ้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโนโลยี  เพื่อให้เกิดประหยัดพลังงาน  มาจาก ภูมิปัญญา + ภูมิปัญญา  เป็นเทคโนโลยี  เรื่องโลกร้อน  การเก็บพืชผล ลดต้นทุน  กศน.ควรสอนให้คนรู้จักใช้  จัดผ่านกิจกรรมกศน.อยู่ 3 ตัว 

                     6. การฝึกอบรม    เวลาเชิญชาวบ้านมา สามารถจ่ายค่าอาหารได้ขอให้รอก่อน
กลุ่มสนใจ  คือ  การจัดวิชาชีพ ทักษะวิชาชีพให้จ้ดสั้น ไม่เกิน 30 ชั่วโมง  ให้เบิกค่าวัสดุได้ รอก่อน
จะจัดทักษะชีวิตเป็นกลุ่มสนใจ 

พบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 3 วันที่ 22 พ.ย. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 3
  วันที่ 22 พ.ย. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 25 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง การคูณ และการหารจำนวนเต็ม ครูและผู้เรียนทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม การบวกและการลบจำนวนเต็ม  ครูยกตัวอย่างจำนวนเต็ม เช่น 
5 + 5 + 5 + 5  =................... 
5 x 4               = .................. 
1. จากโจทย์กำหนดผลลัพธ์ออกมาเหมือนกันหรือไม่
2. ทำไมผลลัพธ์ถึงเหมือนกัน
     การที่ผลคูณของจำนวนเต็มบวก คูณจำนวนเต็มบวก =  ผลบวกของจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากัน  มาบวกกัน เช่น 4 + 4 + 4  = 12  เพราะระยะของค่าสัมบูรณ์เท่ากัน คือ 4   ซึ่งมีทั้งหมด  ตัว  จึงมีค่าเท่ากบ  4 X 3  =  12


     การที่ผลคูณของจำนวนเต็มบวก คูณจำนวนเต็มลบ = ผลบวกของจำนวนเต็มลบ ดังนั้นผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มลบ   คือการนำค่าสัมบูรณ์เท่ากัน  มาบวกกัน เช่น (-4) + (-4) + (-4)  = (-12)  เพราะระยะของค่าสัมบูรณ์เท่ากัน คือ  (-4) ซึ่งมีทั้งหมด  ตัว  จึงมีค่าเท่ากบ  (-4) X 3  =  12


     การที่ผลคูณของจำนวนเต็มลบ คูณจำนวนเต็มลบ = ผลบวกของจำนวนเต็มบวก ดังนั้นผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มบวก  
การหารจำนวนเต็ม  พบว่า 
      1. ถ้าตัวตั้งหรือตัวหารเป็นจำนวนเต็มลบ  หรืออีกตัวเป็นจำนวนเต็ม  ผลลัพธ์จะเป็น จำนวนเต็มลบ         2. ถ้าตัวตั้งหรือตัวหาร เป็นจำนวนเต็ม หรือจำนวนเต็มบวกทั้งสองตัว  ผลลัพธ์จะเป็นบวก
ครูอธิบาย และให้ผู้เรียนสอบถามหากไม่เข้าใจ จากนั้นให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด เพื่อทดสอบความเข้าใจ 
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง หัวเรื่องความพอเพียง ความเป็นมา ความหมายหลักแนวคิด และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้  ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ศึกษาค้นคว้า ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง  หลักแนวคิด 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  และการนำหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต  แล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูและผู้เรียนสรุปร่วมกัน 


      ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง สมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากัน ค่าสัมบูรณ์ครูตั้งประเด็นคำถามว่า สมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากันแตกต่างกันอย่างไร ให้ผู้เรียนตอบประเด็นคำถาม  และศึกษาใบความรู้เรื่องสมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากันหรือจากหนังสือแบบเรียน 
         ครูอธิบายเกี่ยวกับสมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากัน
ครูให้ผู้เรียนดูสัญลักษณ์ ( |  | )  แล้วถามผู้เรียนว่าเป็นสัญลักษณ์ของอะไร  มีความหมายอย่างไร
ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องค่าสัมบูรณ์หรือจากหนังสือแบบเรียน
         ครูอธิบายเกี่ยวกับค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริงและการหาค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
ครูมอบหมายให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดและเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่หลากหลาย
ครูและผู้เรียนสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน

ครูประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการพบกลุ่มและจากแบบฝึกหัด

 วิชาเศรษฐกิจพอเพียง    เรื่อง ความเป็นมา  ความหมายหลักแนวคิด  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้  ครูสนทนากับผู้เรียนถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่าเคยทราบเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่และมีความเข้าใจว่าอย่างไร ให้ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบ ครูพูดถึงเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวว่ามีสาเหตุมาจากเรื่องใดบ้าง เช่น ปัญหาความยากจน การว่างงาน  ครอบครัวแตกแยก   
        ครูให้ผู้เรียนระดมปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในครอบครัว  ชุมชนของตนเอง  เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ  ตลอดจนศึกษาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรัชญาคิดเป็น
จากนั้นครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 5-6 คน ทำการศึกษาค้นคว้า สาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่ครูกำหนด กลุ่มละ 1 เรื่อง และให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูให้ผู้เรียนฝึกทำบัญชีครัวเรือน
ประเมินผลผู้เรียน จากใบงาน การทำบัญชีครัวเรือน การมีส่วนรวม และแบบทดสอบ

ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
        - วิชาเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษายังขาดความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากที่นักศึกษาได้ออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน ยังขาดองค์ความรู้ ตามหัวข้อเรื่องที่เรียน

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 23 - 29 พ.ย. 58

แผนปฎิบัติงานรายสัปดาห์ วันที่ 23 - 29 พ.ย.58

วันที่ 23 พ.ย. 58
     เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง  
      -  ประชุมและชมการถ่ายทอด ETV จากสำนักงาน กศน. 

วันที่ 24 พ.ย. 58
     เข้าปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว
     - บันทึกข้อมูลระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ในส่วนของแผน/คำรับรองการปฎิบัติราชการ
      
วันที่ 25 พ.ย. 58
     เข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง
     - บันทึกข้อมูลระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ในส่วนของข้อมูลกศน.ตำบล
     
วันที่ 26 พ.ย. 58
      เข้าปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว
     - ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้ดูแลบ้านหนังสือชุมชน ขอข้อมูล รูปถ่าย ในการนำมาบันทึกในระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
     
วันที่ 27 พ.ย. 58
     เข้าปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว
    -  ประสานงานกลุ่มอาชีพ บ้านดงสันเงิน หมู่ที่ 15 
      เข้าปฎิบัติงานใน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
    - เตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครั้งที่ 4
    -เก็บแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดนิทรรศการในการจัดงานประเพณี "งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก" ประจำปี 2558 
วันที่ 28 พ.ย. 58
   -วันหยุด 

วันที่ 29 พ.ย. 58
    -จัดการเรียนการสอนนักศึกษาขั้นพื้นฐาน กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว ครั้งที่ 4

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 20 พ.ย.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 20 พ.ย. 58


         วันนี้ดิฉันได้เข้าปฏิบัติงานที่กศน.อำเภอเมืองลำปาง แก้ไขแผนจุลภาคให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารกศน.อำเภอเมืองลำปาง และกศน.จังหวัดลำปาง 

                                   
         
      อ.ยุรัยยา อินทรวิจิตร ได้ให้คำแนะนำ ชี้แจงให้กับคณะครูทุกคน ในรายละเอียดการจัดทำแผนฯ เพิ่มเติม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกศน.จังหวัด และสำนักงานกศน. เพื่อให้การดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
          - เตรียมแผนการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับม.ต้น และม.ปลาย 

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนการปฎิบัติงาน ปี 2559 (วันที่ 19/11/58)

ประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนการปฎิบัติงาน ปี 2559
วันที่ 19 พ.ย. 58
ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอเมืองลำปาง

านห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง นำเสนอแผนปฎิบัติการประจำปี 2559
 โดยนางสาวกัญจน์รัตน์  ขันตาเครือ
   1. กิจกรรมชุมชนรักการอ่าน
   2. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายในห้องสมุด
   3. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายนอกห้องสมุด

อ.ภสุ  เสือนาค  แนะนำให้ระบุกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะจัดกิจกรรมเพื่อจะได้สอดคล้องกัน

งานห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองลำปาง นำเสนอแผนปฎิบัติการประจำปี 2559
โดยนางสาวอุตวดี  ใจคำ

ผอ.ดร.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ได้แนะนำการทำกิจกรรมของห้องสมุดจะดำเนินการจัดกิจกรรมให้เคลื่อนที่ลงในชุมชน ให้ไปดูความสอดคล้อง

สรุป การจัดกิจกรรมต่างในพื้นที่ของตำบล ให้ยึดกศน.ตำบลเป็นฐาน  ดังนั้น ขอทบทวนที่ได้คุยกันในกรอบแนวคิดในการทำงานในปีนี้จะทำยังไง  ส่วนของอำเภอก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับของสนง.กศน.
ระดับชาติ เน้นในเรื่องของสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ส่วนระดับชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง ส่วนระดับบุคคล

กลุ่มเป้าหมายพิเศษ 10 ล้านคน  กลุ่มเป้าหมายทั่วไป  40 ล้านคน
ปัญหา   ระดับชาติ  คุณภาพการศึกษาต่ำ สังคมเหลื่อมล้ำ เศรษฐกิจอ่อนแอ ขาดความสามัคคีของคนในชาติ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม    ระดับชุมชน  ครอบครัวแตกแยก ชุมชนอ่อนแอ  ปัญหายาเสพติด
ระดับบุคคล ไม่รู้หนังสือ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน                                            วิธีการ
ผู้ไม่รู้หนังสือ                                                        การพบกลุ่ม
ประถมศึกษา                                                        ทางไกล
มัธยมศึกษาตอนต้น                                             ตนเอง
มัธยมศึกษาตอนปลาย                                         เทียบระดับ                                        
         
การศึกษาต่อเนื่อง
การพัฒนาอาชีพ                                                  กลุ่มสนใจ
การพัฒนาทักษะชีวิต                                           หลักสูตรระยะสั้น
การพัฒนาสังคมและชุมชน
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

การศึกษาตามอัธยาศัย

ช่วงบ่ายได้ให้เวลาคณะครูในการแก้ไขแผนจุลภาค และบัญชีแผนงานให้เสร็จ และหัวหน้างานจะได้ตรวจสอบความเรียบร้อย และรวบรวมนำเสนอต่อท่านผอ. และลงนามรับรองคำปฏิบัติการต่อไป ทั้งหมดให้เสร็จสิ้น วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนการปฎิบัติงาน ปี 2559 (18/11/59)

ประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนการปฎิบัติงาน ปี 2559
วันที่ 18 พ.ย. 58
ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอเมืองลำปาง


     วันนี้ ดิฉันได้เข้ามาร่วมประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี  โดยผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ  และอ.ยุรัยยา อินทรวิจิตร หัวหน้ากลุ่มจัดการศึกษาฯ อ.สุพรรณี  วงค์แสน  หัวหน้าภาคีเครือข่าย นางนาตยา ทุนกุล  หัวหน้างานอำนวยการ   ได้นำปัญหาการทำงานรอบปีที่ผ่านมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันดู
อ.สุมลมาลย์   นำเสนอโครงการ  ได้สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 58 จำนวน 28  โครงการ     
   การเสนอปัญหาของกลุ่มงานธุรการ
 ผอณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ระบบสารบัญและสารสนเทศ  ยังไม่เป็นระบบ  หาเอกสารยาก  และอาจารย์ กฤษณะ จะมีระบบการนำเสนองาน เช่นการนำเสนองาน สามัญอาชีพ  ทุกอย่างอยู่ในระบบ online ให้ทุกคนปรับความคิด การนำเอาระบบไอซีที  มาใช้ในการทำงาน  เช่น การเงิน  สารบัญ  สารเทศ
  อาจารย์ภัสธิดา  งานพัสดุ  ให้เขียนวัสดุก่อนภายใน 7 วัน  งานโครงการ ให้ปริ้นโครงการแนบการจัดซื้อ  ผอ.แจ้งท่าน เลขาสุรพงษ์  จำจด  เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับงานกศน.อย่างมาก  ฝากมาให้ทำถูกต้องตามระเบียบพัสดุ ไม่ทำการซื้อย้อนหลัง  จะจัดกิจกรรมให้ขออนุมัติก่อน  การจัดซื้อผ่่านทางกลุ่มงานตามระบบจะมีการจัดอบรมให้ ประมาณต้นเดือน โครงการบริหารงานระบบ
   ผอ.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  สรุปปัญหา  การเงิน  ไม่มีการวางแผนการใช้เงิน  การบริหารการใช้เงิน  ไม่การควบคุมงบประมาณในแต่ละงาน  ไม่ว่าจะเป็นกศน.ตำบล  เจ้าของงานไม่รู้เงินคงเหลือของแต่ละงบ  ตอนนี้อ.อกฤษณะ กำลังพัฒนาระบบ 
    งานอาคารสถานที่  หลังคาเวลาฝนตก  บริเวณโดยรอบด้านหลังไม่เรียบร้อย   บอร์ดบุคลากร   มอบให้อาคารสถานที่ดูแลด้วย 
    งานข้อมูลและการรายงาน    ระบบสารสนเทศ  อ.กฤษณะ  จะเก็บตั้งแต่โครงการ  ไปสู่ผู้บริหาร พัสดุ การเงิน  และเอารูปภาพของกิจกรรมใส่ในโครงการ เป็นรายงานผลการปฏิบัติงาน  เป็นระบบที่เก็บไว้ในทีเดียว  หลังจากที่ระบบจะยุบภาพใน Line และ facebook  ให้รายงานทางเดียวไม่ให้เกิดความสับสน หลังจากระบบสเร็จแล้วครูต้องกรอกข้อมูล   การทำต่อไปนี้ครูทุกคนต้องรายงาน ส่วนของอำเภอ และแผนประจำตำบลขึ้น online ให้สำนัก ตามที่ระบุไว้ จะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติงาน และจะเอาแผนและคำรับรอง มาเป็นคะแนน  การทำแผนปฏิบัติการพยายามทำให้ตรงไตรมาส
   กลุ่มจัด ให้ครูจัดทำแผนทุกสัปดาห์ ผู้ไมรู้หนังสือ บันทึกหลังสอน  รายงานประจำเดือน 
   ขั้นพื้นฐาน  ปัจจุบัน  ไม่ได้ทำแผน การจัดตั้งกลุ่ม  บันทักหลังสอน  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การส่งเสริมการอ่าน  ทักษะชีวิต 9 ข้อ ให้ทำมาด้วย  การเน้นย้ำนักศึกษาให้มาพบกลุ่ม และเข้าสอบ  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น  เป้าที่ได้รับมอบหมายให้แต่ละตำบล  ถ้าทำได้ไม่ถึงเป้าจะเกิดปัญหา  ดังนั้นมีมาตรการ ว่าถ้าจังหวัดไหนทำไม่ได้  ต้องคืนเงินให้สำนัก และส่งผลต่อการปฏิบัติงานของ ผอ.กศน.จังหวัด  อำเภอ กศน.ตำบล
    งาน RP  จัดการเรียนการสอน  สอนเสริม
    เทียบระดับ  ไต่ระดับ 1 คน  สูงสุด 22 คน 
    ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน    จำนวนชั่วโมงไม่สัมพันธ์กับหลักสูตรที่เรียน  เพื่อให้ได้หลักสูตร มาก  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนสามารถจัดได้ 2 แบบ คือกลุ่มสนใจไม่เกิน 30 ชั่วโมง  คนน้อยเรียนได้ เขียนให้ชัดเจน
หลักสูตรระยะสั้น 40 ชั่วโมงขึ้นไป
     มอบให้งานสารสนเทศไปพิมพ์มาและจะสรุปในตอนท้าย   ให้แต่ละกลุ่มงานจัดทำผังระบบการปฏิบัติงาน  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  เพื่อนำเสนอ ให้เสร็จสิ้นเดือนนี้
     การวิเคราะห์ SWOT ของอำเภอ   ให้ไปแก้ไข  ในแต่ละโครงการ 28 โครงการ แล้วรวบรวมเป็น SWOT ว่าตรางกันไหม โครงการปีที่แล้วไม่มีการวิเคราะห์ขึ้นมา ผอ.แนะว่าให้มีการวิเคราะห์โครงการด้วยเพื่อมีข้อเสนอแนะในการทำ
โครงการในปีต่อไป




วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน วันที่ 16 พ.ย. 58

บันทึกประจำวัน วันที่ 16 พ.ย. 58

เข้าปฏิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง
           ช่วงเช้าใน วันนี้ข้าพเจ้า ได้เข้ามาปฏิบัติงานเริ่มต้นการทำงานโดยการนำใบสมัครนักศึกษาใหม่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 คน มาให้เจ้าหน้าที่ทะเบียน และได้จัดทำแผนรายภาคเพื่อประกอบการจัดตั้งกลุ่ม
           ช่วงบ่ายข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมโดยมีอาจารย์ยุรัยยา อินทรวิจิตร เป็นประธานในการประชุมในเรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2559 เพื่อทำความเข้าใจในการจัดทำแผนฯเพื่อให้ตรงตามนโยบายจุดเน้นของสำนักงานกศน.ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
     1. เป้าหมายจำนวนนักศึกษา ตำบลละ 90 คน จัดตั้งกลุ่ม กลุ่มละ 40 คน
     2. งานสอนผู้ไม่รู้หนังสือ หลักสูตร 200 ชม.ให้มีการวัดผลประเมินผล มีแผนการสอน เมื่อผ่านการประเมินให้มอบวุฒิบัตร
     3. แหล่งเรียนรู้ ตำบลล่ะ 2 แหล่ง
     4. บ้านหนังสือชุมชนให้กำหนดเป้าเอง
     5. บรรณสัญจร   ให้จัดหาหนังสือบริจาค เป้าหมายทั่วประเทศ จำนวน 1,000,000 เล่ม แล้วเมื่อได้รับบริจาคหนังสือมาแล้วให้นำไปมอบให้บ้านหนังสือชุมชนของแต่ละตำบล
     6. ฐานข้อมูลกศน.ตำบล  ได้รับงบประมาณ ตำบลล่ะ 3,000 บาท
     7. โครงการกีฬาให้จัดเป็นระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค ระดับประเทศจะแจ้งในภายหลัง
     8. โครงการตามรอยพระยุคลบาท   เป้าหมายจำนวน 2 คน รายหัวละ 400 บาท

บันทึกประจำวัน วันที่ 17 พ.ย.58

บันทึกประจำวัน วันที่ 17 พ.ย. 58
   เช้าของวันนี้ดิฉันได้ข้าปฎิบัติงานในกศน.อำเภอเมืองลำปาง 
     - แก้ไขแผนและคำรับรองการปฎิบัติราชการ ประจำปี 2559 
     เข้าปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว
     - ประสานงานกลุ่มอาชีพบ้านพรประสิทธิ์ หมู่ที่ 17  ได้พบปะและประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน นายสัมฤทธิ์  หวานชะเอม เบื้องต้น เนื่องจากทางกลุ่มแม่บ้านได้เคยขอให้ไปส่งเสริมอาชีพ การเพาะเห็ดฟาง จึงได้ไปสอบถามความต้องการเพิ่มเติมและจะนัดหมายกลุ่ม พบว่าขณะนี้ทางกลุ่มยังไม่พร้อมรวมกลุ่มยังไม่ได้จึงขอยกเลิกกลุ่มอาชีพนี้ไปก่อน ทำให้ต้องแก้ไขแผนปฎิบัติการประจำปี 2559 และเพิ่มกลุ่ม อาชีพใหม่เข้าไปแทน
     - ทำข้อมูลนำเสนอแผนการปฎิบัติงาน ประจำปี 2559  

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 2 วันที่ 15 พ.ย.58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 2
  วันที่ 15 พ.ย. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  0  คน   ขาดเรียนจำนวน 2  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 25 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้                
                ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น วิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ เนื้อหาได้แก่เรื่อง จำนวนเต็มบวกจำนวนเต็มลบ และศูนย์ ค่าสัมบูรณ์ การบวก ลบ จำนวนจริง
ครูได้นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนากับผู้เรียนถึงการใช้จ่ายในหนึ่งวันของผู้เรียนมีการใช้จ่ายอย่างไร และถ้าเป็นหนึ่งสัปดาห์ ตลอดจนหนึ่งเดือนได้ใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนกี่บาท รายได้เพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่  ปรากฎมีผู้เรียนบางคนใช้เงินมากกว่ารายได้นั่นหมายถึงการใช้เงินติดลบ แต่กรณีที่ใช้เงินน้อยกว่า หมายความว่าจะมีเงินเหลือซึ่งจะทำให้มีเงินออม  ดังนั้นผู้เรียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกระหว่างมีเงินออมหรือติดลบ  เพื่อให้ผู้เรียนใช้จ่ายเงินอย่างประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผนการใช้จ่ายเงิน ให้ผู้เรียนเขียนรายได้ของตนเองลงในกระดาษ  และบอกรายได้ของตนเองมีตัวเลขอะไรบ้าง  เช่น  นายทองดี  มีรายได้  เดือนละ  8,500 บาท  ประกอบด้วยเลข  8   5   0  0  เป็นต้น  จากนั้นให้แต่ละคนนำตัวเลขของตนเองมาบวกกัน  เช่น  8 + 5 + 0 + 0 =  13   ครูสอบถามผู้เรียนรู้หรือไม่ว่า  ในจำนวนตัวเลขมีตัวเลขไหนบ้าง ที่เป็นบวก  ตัวเลขไหนบ้างเป็นลบ  และตัวเลขไหนบ้างเป็นศูนย์  และให้ผู้เรียนบอกค่าประจำหลัก ครูอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของจำนวนเต็ม และค่าสัมบูรณ์ ครูอธิบายเกี่ยวกับการบวก   การลบ  บนเส้นจำนวน และการบวก ลบ จำนวนจริง ครูแสดงวิธีทำและอธิบายบนหน้ากระดานให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจ ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ จำนวน 10 ข้อ ครูและผู้เรียนกันเฉลยแบบทดสอบ ครูมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า เรื่อง การบวกและการลบจำนวนจริง




                ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย วิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ เนื้อหาได้แก่เรื่อง ความสัมพันธ์ของระบบจำนวนจริง สมบัติของการบวก  การลบ  การคูณ และการหารจำนวนจริงครูตั้งประเด็นคำถามกับผู้เรียนว่าวันนี้มีผู้เรียนทั้งหมดกี่คน  เป็นผู้ชายกี่คนและที่เหลือเป็นผู้หญิงกี่คน ครูถามผู้เรียนว่าจำนวนที่ผู้เรียนตอบนั้นเป็นจำนวนอะไร  ครูอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของระบบจำนวนจริง  ให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องสมบัติของการบวก  การลบ  การคูณ และการหารจำนวนจริงและดูจากหนังสือแบบเรียน ครูอธิบายเกี่ยวกับสมบัติของการบวก  การลบ  การคูณ และการหารจำนวนจริง ไปพร้อมๆกัน อธิบายบนหน้ากระดานให้นักศึกษาได้เข้าใจ หลังจากนั้นให้ทำแบบฝึกหัด จำนวน 10 ข้อ และทดสอบย่อย จำนวน 5 ข้อ ครูและผู้เรียนร่วมกันเฉลย มอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าเรื่องสมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากัน ค่าสัมบูรณ์ เพื่อทำความพร้อมในการพบกลุ่ม ครั้งที่ 3




ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
              - เนื่องจากนักศึกษาติดภาระกิจในการทำงาน ทำให้ขาดเรียนมาพบกลุ่มไม่ได้ จึงได้ขออนุญาตลา ครูจึงได้ให้นักศึกษาที่ขาดเรียนมาติดตามงานภายหลัง ครูได้แนะนำให้นักศึกษาติดตามงาน หรือกิจกรรมข่าวสารที่ทางครูได้มอบหมาย หรือกิจกรรมงานต่าง ๆ ที่นักศึกษาจะต้องได้ทำ ทาง facebook กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว และไลน์กลุ่ม กศน.ตำบล เพื่อเป็นช่องทางในการประสานงานติดตามการทำกิจกรรมต่างๆ   

             - ปัญหาในด้านการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ พบปัญหาน้อยมากในการพบกลุ่มครั้งนี้ เนื่องจากนักศึกษาเป็นกลุ่มเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ การเรียนรู้ค่อนข้างเร็ว ทำให้การเรียนการสอนเป็นอย่างราบรื่น มีนักศึกษาเพียงไม่กี่คน ที่ยังไม่เข้าใจในการบวก ลบ จำนวนจริง เนื่องจาก การที่จะทำโจทย์วิธีการลบ  ได้นั้น จะต้องเข้าใจสูตรการบวกอย่างแท้จริงก่อนถึงจะทำได้ สาเหตุนี้ที่นักศึกษาไม่เข้าใจ เป็นเพราะว่าเข้าเรียนสายจึงเรียนไม่ทันเพื่อน ทำให้การเข้าใจได้ไม่ต่อเนื่อง ครูผู้สอนได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้น ด้วยวิธีการท่องจำสูตร การบวกให้ได้ และฝึกทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ ให้เกิดความเข้าใจจนชำนาญ