วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 4 วันที่ 29 พ.ย. 58

รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 4
  วันที่ 29 พ.ย. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว

       นักศึกษาระดับประถม มาเรียน จำนวน  2  คน  ขาดเรียนจำนวน 0  คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
       นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 25 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน



การจัดกระบวนการเรียนรู้
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  เศษส่วน ครูนำเข้าสู่บทเรียน ดังต่อไปนี้  1. ประเด็นชวนคิด วันนี้ผู้เรียนมีเงินอยู่  100 บาท  ผู้เรียนจะเอาเงินไปซื้ออะไรบ้าง
(อย่างน้อย  รายการๆละเท่าไร)  สุ่มถามทีละคน พร้อมถามเหตุผลด้วยว่า ทำไหมต้องใช้แบบนั้น 
 2. ร่วมกันสรุปประเด็นว่า โดยสรุปแล้วห้องนี้จะใช้เงิน 100 บาทเพื่อรายการอะไรบ้าง
หลังจากนั้นจัดอันดับรายการการซื้อมากไปหาน้อย  และคัดเฉพาะลำดับ 1 - 3 จากนั้นให้ผู้เรียนประเมินใหม่  หากมี รายการผู้เรียนซื้อแต่ละรายการเท่าไร 
 3. ให้ผู้เรียนแต่ละรายวาดรูปวงกลมแล้วแบ่งเป็นตามส่วนตามสัดส่วนรายการการซื้อทั้ง 3 รายการ 
     ครูอธิบายความหมายของเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วน บนกระดานให้ผู้เรียนร่วมกันทำความเข้าใจ แล้วลองทำแบบฝึกหัด จำนวน 10 ข้อ ร่วมกันเฉลย ครูสรุปอีกครั้งหนึ่ง

วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง ชุมชนพอเพียง   ครูเข้าสู่บทเรียนด้วยการใช้ประเด็น/คำถามกระตุ้นผู้เรียนเพื่อทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ดังนี้  
   -  สิ่งที่ทำแล้วเกิดความภาคภูมิใจ  คนละ 1 เรื่อง   เพราะเหตุใด
   -  สิ่งที่ผู้เรียนได้ทำไปนั้น  ส่งผลต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร
   -  ผู้เรียนและครูร่วมกันสรุปตามประเด็นที่สนทนา
   -  ครูเชื่อมโยงประเด็นกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ตามบริบทของตนเอง ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม ค้นคว้าเรื่อง  ดังนี้  
   1. ความหมาย ความสำคัญการบริหารจัดการชุมชน
   2. การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
   3. กระบวนการ เทคนิคการบริหารจัดการชุมชน
จากนั้นให้ตัวแทนออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุป และทำแบบทดสอบจำนวน 5 ข้อ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง เรื่อง เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ครูและผู้เรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการรู้
  - จำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะแตกต่างกันอย่างไร
  - จำนวนตรรกยะคือจำนวนหรือตัวเลขใด
  - จำนวนอตรรกยะคือจำนวนหรือตัวเลขใด- ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังเรียน และใบความรู้ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
  กลุ่มที่ 1 อธิบายความหมายและยกตัวอย่างจำนวนตรรกยะ มา 5 ตัวอย่าง
  กลุ่มที่ 2 อธิบายความหมายและยกตัวอย่างจำนวนอตรรกยะ มา 5 ตัวอย่าง
-ให้ผู้เรียนหาข้อมูลตัวอย่างเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเต็มบวก เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก
-ให้ผู้เรียนหาข้อมูลตัวอย่างยกกำลังที่มีฐานเป็นจำนวนเต็มลบ เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก
 ครูอธิบายเพิ่มเติม จากนั้นทดสอบความเข้าใจครูให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดจำนวน 10 ข้อ
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง ชุมชนพอเพียง  ครูสนทนากับผู้เรียนถึงวิธีการศึกษาด้วยตนเองและให้ผู้เรียนไปค้นคว้าในหัวข้อ
-  การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดในชุมชนและการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาคนว่างงาน  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ครูบอกถึงแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาหาข้อมูล ครูมอบหมายงานให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนดและจดบันทึก  สรุปผลการศึกษาค้นค้าและจัดทำเป็นรายงานส่งตามกำหนด และสรุปร่วมกัน


ปัญหาและอุปสรรคในการพบกลุ่ม
        - การแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ศึกษาค้นคว้าทำงานกลุ่มนั้น ปัญหาที่พบอย่างชัดเจน คือนักศึกษาผู้ที่จะออกนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นคนเดิมซ้ำกันทุกครั้ง นักศึกษาที่ไม่ออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน จึงไม่ได้ฝึกที่จะแสดงออก การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 




              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น