รายงานการพบกลุ่มนักศึกษา ครั้งที่ 3
วันที่ 22 พ.ย. 58
ณ กศน.ตำบลบ่อแฮ้ว
นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียน จำนวน 18 คน ขาดเรียน จำนวน 5 คน
นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาเรียน จำนวน 25 คน ขาดเรียน จำนวน 10 คน
การจัดกระบวนการเรียนรู้
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ และการหารจำนวนเต็ม ครูและผู้เรียนทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม การบวกและการลบจำนวนเต็ม ครูยกตัวอย่างจำนวนเต็ม เช่น
5 + 5 + 5 + 5 =...................
5 x 4 = ..................
1. จากโจทย์กำหนดผลลัพธ์ออกมาเหมือนกันหรือไม่
2. ทำไมผลลัพธ์ถึงเหมือนกัน
การที่ผลคูณของจำนวนเต็มบวก คูณจำนวนเต็มลบ
=
ผลบวกของจำนวนเต็มลบ ดังนั้นผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มลบ คือการนำค่าสัมบูรณ์เท่ากัน มาบวกกัน เช่น (-4)
+ (-4) + (-4) = (-12) เพราะระยะของค่าสัมบูรณ์เท่ากัน
คือ (-4) ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตัว จึงมีค่าเท่ากบ (-4)
X 3 =
12
การที่ผลคูณของจำนวนเต็มลบ คูณจำนวนเต็มลบ
=
ผลบวกของจำนวนเต็มบวก ดังนั้นผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มบวก
การหารจำนวนเต็ม พบว่า
1. ถ้าตัวตั้งหรือตัวหารเป็นจำนวนเต็มลบ หรืออีกตัวเป็นจำนวนเต็ม ผลลัพธ์จะเป็น จำนวนเต็มลบ 2. ถ้าตัวตั้งหรือตัวหาร เป็นจำนวนเต็ม
หรือจำนวนเต็มบวกทั้งสองตัว ผลลัพธ์จะเป็นบวก
ครูอธิบาย และให้ผู้เรียนสอบถามหากไม่เข้าใจ จากนั้นให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด เพื่อทดสอบความเข้าใจ
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ครูสอนเรื่อง หัวเรื่องความพอเพียง ความเป็นมา ความหมายหลักแนวคิด และ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้ ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ศึกษาค้นคว้า ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง หลักแนวคิด 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และการนำหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต แล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูและผู้เรียนสรุปร่วมกัน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากัน ค่าสัมบูรณ์ครูตั้งประเด็นคำถามว่า
สมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากันแตกต่างกันอย่างไร ให้ผู้เรียนตอบประเด็นคำถาม และศึกษาใบความรู้เรื่องสมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากันหรือจากหนังสือแบบเรียน
ครูอธิบายเกี่ยวกับสมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากัน
ครูอธิบายเกี่ยวกับสมบัติการเท่ากันและการไม่เท่ากัน
ครูให้ผู้เรียนดูสัญลักษณ์ (
| | )
แล้วถามผู้เรียนว่าเป็นสัญลักษณ์ของอะไร
มีความหมายอย่างไร
ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องค่าสัมบูรณ์หรือจากหนังสือแบบเรียน
ครูอธิบายเกี่ยวกับค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริงและการหาค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
ครูมอบหมายให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดและเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่น
ๆ ที่หลากหลาย
ครูและผู้เรียนสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน
วิชาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ความเป็นมา ความหมายหลักแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการความรู้ ครูสนทนากับผู้เรียนถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่าเคยทราบเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่และมีความเข้าใจว่าอย่างไร ให้ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบ ครูพูดถึงเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวว่ามีสาเหตุมาจากเรื่องใดบ้าง
เช่น ปัญหาความยากจน การว่างงาน ครอบครัวแตกแยก
ครูให้ผู้เรียนระดมปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในครอบครัว ชุมชนของตนเอง เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนศึกษาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรัชญาคิดเป็น
ครูให้ผู้เรียนระดมปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในครอบครัว ชุมชนของตนเอง เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนศึกษาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรัชญาคิดเป็น
จากนั้นครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 5-6 คน ทำการศึกษาค้นคว้า สาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่ครูกำหนด
กลุ่มละ 1 เรื่อง และให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูให้ผู้เรียนฝึกทำบัญชีครัวเรือน
บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีนะคะ ขอให้เพิ่มเติมแนวทางการแก้ไขด้วยนะคะ
ตอบลบให้มีการจัดทำบันทึกผู้เรียนให้สอดคล้องกับแผนการสอนด้วย
ขอให้มีแผนการสอนเสนอก่อนเป็นรายสัปดาห์ ขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มด้วย
บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีนะคะ ขอให้เพิ่มเติมแนวทางการแก้ไขด้วยนะคะ
ตอบลบให้มีการจัดทำบันทึกผู้เรียนให้สอดคล้องกับแผนการสอนด้วย
ขอให้มีแผนการสอนเสนอก่อนเป็นรายสัปดาห์ ขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มด้วย